ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรผสานภายในครัวเรือน

โดย : นายกรีฑา สังข์ทอง วันที่ : 2017-04-21-14:49:45

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 4 บ้านบางหิน ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 85120 โทร 098-6950139

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายกรีฑา  สังข์ทอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านวังกุ่ม หมู่ที่ 4 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นเกษตรกรท่านหนึ่ง ซึ่งในอดีตได้ทำเกษตรกรรมแบบเชิงเดี่ยว รายได้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสวนยางพารา     และปาล์มน้ำมัน แต่บางครั้งพบว่าราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน ไม่ดีขึ้นลงตามระบบของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต จึงได้ศึกษาหาความรู้การทำเกษตรผสมผสาน จากผู้รู้ และลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ทำให้นำผักเหลียงซึ่งเป็นพืชผักที่ปลูกได้ดีในจังหวัดระนอง และเป็นที่ต้องการของตลาด ในระยะการปลูกช่วงแรก พบปัญหาหลายอย่าง เช่น การเจริญเติบโต การตายของต้นผักเหลียง สีของใบที่ไม่สวยไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงได้ศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของผักเหลียง จนได้ทักษะและวิธีการปลูกที่เหมาะสม รวมทั้งได้บริหารจัดการพื้นที่รอบบริเวณบ้านทำเกษตรผสมผสานต่อยอดสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

3. เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนในพื้นที่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ เช่น ผักเหลียง พริก ตะไคร้ มะนาว โหระพา ชะอม หมาก เป็นต้น

อุปกรณ์ ->

1. ท่อซีเมนต์

          2. จอบหรือเสียม

          3. บัวรดน้ำหรือสายยาง

          4. พลั่วพรุนดิน

          5. ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยพืชสด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

                    1. เตรียมวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่ โดยพิจารณาบริบทพื้นที่ของตนเอง

                   2. เตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการทำเกษตรผสมผสาน

         ขั้นตอนการดำเนินการ

          1. เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากสภาพพื้นที่ เช่น ปลูกต้นชะอม สำหรับทำแนวเขตของบ้าน เพราะชะอมจะเป็นไม้ขนาดกลาง เมื่อเจริญเติบโตจะสามารถใช้เป็นแนวกั้นแนวเขตที่ดินหรือบ้านได้

          2. ปลูกพืชผักที่ใช้ภายในครัวเรือนไว้ข้างบ้าน เช่น ตะไคร้  โหระพา มะนาว ซึ่งพืชเหล่านี้เป็นพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร สามารถลดรายจ่ายในการซื้อจากท้องตลาด

          3. การบำรุงรักษา ใช้วิถีการทางธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี เช่น การกำจัดใบพืชที่ติดเชื้อโรค ด้วยการเด็ดทิ้ง การใช้ฮอร์โมนชีวภาพ การใช้ปุ๋ยชีวภาพ

          4. การจำหน่ายจะนำพืชผักที่ปลูกจำหน่ายภายในหมู่บ้าน หรืออาจจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงบ้าน

ข้อพึงระวัง ->

การทำเกษตรผสมผสาน ต้องศึกษาชนิดของพืชผักที่ปลูก ว่ามีลักษณะอย่างไร มีคุณสมบัติแบบไหน รวมทั้งการทำเกษตรผสมผสานที่ดีต้องเน้นการทำเกษตรชีวภาพ ใช้สารชีวภาพในการบำรุงดูแลผักที่ปลูก ลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา