ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสานแห

โดย : นายอนุชา หาญจิตร วันที่ : 2017-04-21-14:09:42

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 190 หมู่ที่ 2 บ้านบางหิน ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 85120 โทร 098-6732527

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายอนุชา  หาญจิตร วิทยากรสัมมาชีพชุมชน บ้านบางหิน หมู่ที่ 2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ที่ทำงานกับชุมชนมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งการทำงานภายในชุมชนนอกจากบทบาทของการบริหารชุมชนแล้ว ยังมีบทบาทในการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน โดยการพัฒนาอาชีพตามบริบทของพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่บ้านบางหิน บางส่วนประชากรจะประกอบอาชีพประมง ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้ศึกษาหาความรู้ และเรียนรู้จากผู้รู้ในการสานแห เพื่อจะเป็นการอนุรักษ์และสร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในการประกอบอาชีพต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดอาชีพภายในชุมชน

2. เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน

3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม สร้างความรักความสามัคคีของคนภายในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ด้ายในล่อนขาว ด้ายสานแห หรือ เอ็นสานแห

อุปกรณ์ ->

1. ชนุน หรือชุน

          2. ไม้ไผ่

          3. กรรไกร

          4. ลูกโซ่ตะกั่ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

                   1. เตรียมวัตถุดิบให้ครบ

                   2. เตรียมอุปกรณ์ในการผลิตแห

         ขั้นตอนการดำเนินการ

                   1. ถักที่จับแหส่วนบน หรือจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง

2. ใช้ชุนร้อยเชือกไนล่อน เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดแห ซึ่งสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น แบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู

3. สานให้ได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนัก

4. นำไปย้อมโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ผลตะโกดำ เปลือกไม้ประดู่

5. นำไปตากให้แห้ง แล้วนำมาถ่วงแห

ข้อพึงระวัง ->

การชุนจะต้องมีความรู้ความชำนาญเรื่องการผูกปม เช่น แบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู เป็นต้น

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา