ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำหมักไล่แมลงและศัตรูพืช

โดย : นายโสภณ คชเดช วันที่ : 2017-04-16-21:25:53

ที่อยู่ : 5/4 หมู่ที่ 3 ตำบลเชี่ยวเหลียง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากครอบครัวเป็นเกษตรกร  ปลูกยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  มังคุด  ต้อใช้ปุ๋ย  และสารเคมีในการบำรุง  และกำกัดศัตรูพืช  ส่งผลกระทบในระยะยาว  ทั้งสารตกค้างในดินและพืช 

การใช้สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช  ได้รับการพิสูจน์และยอมรับทั่วไปแล้ว ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงโรคพืช  โดยเฉพาะสำหรับการปลูกพืชผักผลไม้ไม่แพ้การใช้สารเคมี  แต่มีข้อดีกว่าหลายอย่าง  คือ  มีราคาถูก  ปลอดภัยต่อเกษตรผู้ใช้  ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค  รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ในแปลงพืชผัก  ไม่ตกค้าง ในดิน  และสภาพแวดล้อม

วัตถุประสงค์ ->

­­1.  ลดรายจ่ายในการซื้อสารเคมี

2.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 

3.  สร้างสมดุลของระบบนิเวศน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า 

2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง

อุปกรณ์ ->

1. ถังสำหรับหมัก

2. มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. บรรจุลงในภาชนะ
3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน
4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน
5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม
6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน
7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป
8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา