ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำหมอนฟักทอง

โดย : นางอัญชุลี แสงเวช วันที่ : 2017-04-16-15:23:31

ที่อยู่ : ๓๖/๙ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมอนฝักทองนั้น  ได้ทำกันมานานตั้งแต่ในอดีต โดยทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน และใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่นงานแต่งงาน การบวช ใช้เป็นของฝากได้อีกด้วย  ทุกวันนี้สามารถสอนผู้ที่สนใจจะเรียนรู้ได้ และสามรถขายเพื่อเป็นอาชีพเสริมได้

วัตถุประสงค์ ->

1.  เพื่อสร้างอาชีพ และรายได้เสริมให้กับครัวเรือน

2.  เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชนรุ่นหลัง

3 เพื่อใช้เลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  ผ้าลายไทยกว้าง 1.10  เมตร

2.  เข็มใหญ่ (หัวทอง)

3.  เข็มเล็ก (เข็มเย็บผ้าธรรมดา)

4.  เข็มร้อยพวงมาลัย

5.  นุ่น (ประมาณ 7 ขีด)

6.  ดินสอ 2B

7.  ไม้บรรทัดพลาสติก  ยาว  60  เซนติเมตร

8.  ด้าย (สีตามผ้าที่เลือก)

9.  กระดุมเม็ดอัด (จากผ้าที่เลือก) จำนวน  2 เม็ด

10.  กรรไกร

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

.  กางผ้าตาดที่พื้น

2.  เอาไม้บรรทัดมาทาบ  เพื่อวัดขนาดตามต้องการ คือ กว้าง  109  x  51.5  เซนติเมตร

3.  เอาไม้บรรทัดมาทาบ  เพื่อแบ่งเป็นช่องดังนี้

     3.1)  จากด้านบนวัดลงมา 10 เซนติเมตร   

     3.2)  วัดจำนวน   8  ช่อง  กว้าง 1.5 ซม.  ส่วนแนวตั้งเพื่อตัดเส้นแนวนอน ทั้ง 8 เส้น  จำนวน  66  ช่อง  กว้าง 1.5 ซม.  

     3.3)  วัดลงมา 7.5 เซนติเมตร

     3.4)  วัดจำนวน   8  ช่อง  กว้าง 1.5 ซม.  ส่วนแนวตั้งเพื่อตัดเส้นแนวนอน ทั้ง 8 เส้น  จำนวน  66  ช่อง  กว้าง 1.5 ซม.  

     3.5)  วัดลงมา 10 เซนติเมตร

4.  ใช้ดินสอ 2 บี ขีดเส้นในตาราง (ตามผังลายหมอนฝักทองตามแบบ 1-3)

5.  จากนั้นเย็บริมผ้าด้วยมือ  โดยเย็บขอบบน  ขอบล่าง  และขอบข้างโดยเย็บตามเส้นประในแบบ  จากนั้นใช้จักรเย็บผ้าเย็บซ้ำเพื่อความแน่นหนา

6.  ใช้เข็มร้อยด้ายตามสีของผ้า  สอยตามลายที่ได้ขีดไว้  การสอยต้องสอดทีละแถว 

7.  จากนั้นใช้ด้ายประมาณ 50 เซนติเมตร  ใช้หนาพอประมาณ (จำนวน 10 เส้น)  แล้วร้อยกับเข็มหัวทอง  เพื่อเย็บด้านบนและด้านล่างของหมอนฟักทอง  ในการเย็บต้องจัดจีบผ้าตามรอยของหมอน

8.  โดยเมื่อเย็บจับจีบเสร็จแล้วด้านหนึ่งให้มัดเงื่อนที่ไม่สามารถแกะได้  ส่วนอีกด้านหนึ่งให้เหลือด้ายยาว และมัดปมเพื่อสามารถแกะยัดนุ่นไปได้                                                                                    

9.  ยัดนุ่นไปประมาณ 7 ขีด  หรือพอประมาณว่าหมอนฟักทองแน่นดีแล้ว 

10.  จากนั้นดึงด้ายด้านที่ยังมัดไม่แน่น  ให้มัดเงื่อนที่ไม่สามารถแกะได้

11.  ใช้ด้ายประมาณ 50 เซนติเมตร  ใช้หนาพอประมาณ (จำนวน 10 เส้น)  แล้วร้อยกับเข็มร้อยพวงมาลัย  มัดปมที่ท้ายด้าย 

12.  สอดเข็มเข้าข้างหลังกระดุมที่ทำมา  และนำเข็มแทงเข้าไปในด้านใดด้านหนึ่งของหมอน  เพื่อให้ทะลุอีกด้าน

13.  จากนั้นสอดเข็มเข้าข้างหลังกระดุมที่ทำมาอีกเม็ด และแทงเข็มกลับมาด้านเดิมเพื่อให้ทะลุอีกด้าน

14.  ดึงเชือกให้ตึง  สังเกตหมอนฟักทองว่ามีรูปแบบที่สวยงามหรือยัง  จากนั้นมัดเชือกให้แน่น

15.  ตรวจดูความเรียบร้อย  จะได้หมอนฟักทองที่เสร็จเรียบร้อยและมีความสวยงาม

 

 

ข้อพึงระวัง ->

ในการวัดและตัดผ้า ควรดึงให้ตึงสม่ำเสมอ เพราะเนื้อผ้าจะมีลายในการตัดอยู่แล้ว  หากตัดเบี้ยว จะส่งผลถึงการวัดช่องไฟ และการเย็บด้วย ผลงานจะออกมาไม่สวย บิดเบี้ยวผิดรูป 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา