ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกผักเหลียงและการขยายพันธุ์ผักเหลียง

โดย : นายประยูร ปานจันทร์ วันที่ : 2017-04-04-14:24:28

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 4 บ้านบางหิน ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 85120 โทร. 087-8832536

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายประยูร  ปานจันทร์  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านวังกุ่ม หมู่ที่ 4 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นปราชญ์ที่ความรู้ ความชำนาญในการปลูกผักเหลียงภายในสวนยางพารา รวมทั้งการขยายพันธุ์ผักเหลียง ทั้งแบบการตอนกิ่งและการปักชำ ซึ่งความรู้ความชำนาญที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากการลองผิดลองถูก ครูพักรักจำ และการศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ โดยเหตุผลสำคัญที่ได้สนใจการปลูกผักเหลียงเนื่องจากอดีตจะทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว รายได้ส่วนใหญ่มาจากสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน แต่บ่อยครั้งด้วยสภาพอากาศของอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ที่มีสภาพอากาศแบบฝนแปดแดดสี่ ทำให้รายได้จากสวนยางพาราไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต จึงได้เกิดแนวคิดการสร้างอาชีพเสริม โดยศึกษาพืชที่มีคุณสมบัติเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศแบบจังหวัดระนอง ซึ่งคือ ผักเหลียง โดยการปลูกผักเหลียงในช่วงเริ่มต้นจะซื้อต้นพันธุ์มาจากชุมพร เป็นราคาที่สูง ทำให้เกิดแนวคิดการขยายพันธุ์เพื่อปลูกและจำหน่าย จนในปัจจุบันสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้และทักษะในการปลูกผักเหลียงและการขยายพันธุ์ผักเหลียง

2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

3. เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนในพื้นที่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พันธุ์ผักเหลียง อาทิเช่น พันธุ์ใบใหญ่ พันธุ์ใบเรียว สำหรับปลูกลงดิน

2. ต้นผักเหลียง สำหรับการขยายพันธุ์แบบตอน หรือปักชำ

อุปกรณ์ ->

1. จอบหรือเสีย

          2. มีดคัตเตอร์

          3. ถุงพลาสติก เชือกฟาง

          4. ขุยมะพร้าว

          5. ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยพืชสด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

                   1. เตรียมวางแผนการปลูกและขยายพันธุ์ผักเหลียง

                   2. เตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการปลูกผักเหลียง

         ขั้นตอนการปลูกผักเหลียง

          1. ขุดหลุมขนาด 30X30 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร ระหว่างร่องสวนยางพารา

          2. ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยชีวภาพ รองก้นหลุม

          3. เอาต้นผักเหลียงออกจากถุงเพาะชำ ใส่ภายในหลุม และกลบดินรอบโคนต้น

          4. รดน้ำให้ชุ่ม

         ขั้นตอนการขยายพันธุ์ผักเหลียง

          1. การตอนกิ่ง

                   - เลือกกิ่งพันธุ์ผักเหลียงที่สมบูรณ์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 5 เซนติเมตร

                   - ใช้มีดคัดเตอร์กว้านรอบลำต้นใต้ตาใบประมาณ 1 เซนติเมตร และกว้านอีกรอยให้ระยะห่างจากรอยกว้านแรกประมาณ 8 เซนติเมตร

                   - ปลอกเปลือกต้นผักเหลียงให้หมด แล้วทำการต่อรากด้วยการใช้มีดกรีดขึ้นไปจากรอยกว้านแรกประมาณ 4 รอย เพราะรอยที่กรีดจะเป็นการทำให้รากของต้นผักเหลียงออกเพิ่มมากขึ้นเมื่อตอน

                   - เอาขุยมะพร้าวใส่ถุงพลาสติกใช้เชือกฟางมัดถุง และนำมาผ่าถุงบริเวณกึ่งกลางถุง

                   - เอามาใส่ในกิ่งที่ทำการกว้านไว้เรียบร้อย มัดเชือกให้แน่น

                   - สังเกตประมาณ 10 วัน จะเริ่มเห็นรากที่เกิดขึ้น ทิ้งไว้ประมาณ 30 วันจึงจะสามารถตัดมาชำได้

          2. การขุดต้นอ่อนมาชำ

                   - เลือกต้นอ่อนที่แตกออกจากกอ โดยดูลักษณะต้นที่สมบูรณ์ ขุดให้ติดดิน นำมาใส่ในถุงเพาะชำที่เตรียมไว้

                   - รดน้ำวันละ 1 ครั้ง อาจจะมีการเด็ดใบของต้นอ่อนออกบ้างบางส่วน เพื่อลดการคายน้ำของต้น

                   - ประมาณ 30 วัน จะสามารถนำลงหลุมปลูกได้

         

ข้อพึงระวัง ->

การปลูกผักเหลียง ควรปลูกในช่วงที่ฝนตกหรือช่วงฤดูฝน เนื่องจากจะทำให้รากของผักเหลียงเจริญเติบโตได้ดี มีอัตราการรอดสูง แต่ถ้าปลูกช่วงฤดูแล้งมีอัตราการรอดต่ำ

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา