ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำเกษตรผสานภายในครัวเรือน

โดย : นายสุรินทร์ สังข์สี วันที่ : 2017-04-04-13:38:04

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 10 หมู่ที่ 4 บ้านบางหิน ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 85120 โทร 089-9096232

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสุรินทร์  สังข์สี ผู้ใหญ่บ้าน บ้านวังกุ่ม หมู่ที่ 4 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ในการศึกษาหาความรู้ด้านการเกษตร เนื่องจากสภาพพื้นที่ของบ้านวังกุ่มเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการทำเกษตร ซึ่งในฐานะผู้นำและผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ พบว่า ประชาชนมักจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวคือ การทำสวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน เพียงอย่างเดียว รายได้ของประชาชนจึงเป็นรายได้ทางเดียว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนภายในชุมชน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ผู้ใหญ่สุรินทร์ได้ศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ จากการอบรม จากเทคโนโลยี และการลองผิดลองถูก ทำให้เกิดแนวคิดการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมของตนเองให้เป็นเกษตรผสมผสานภายในครัวเรือน โดยใช้พื้นที่ให้ครบทุกส่วน และมีการพึ่งพาอาศัยกัน ใช้ระบบการเอื้อต่อกัน ทำให้ปัจจุบันนี้พื้นที่เกษตรกรรมสามารถสร้างรายได้และเป็นตัวอย่างให้กับลูกบ้านได้ศึกษา เพื่อรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

3. เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนในพื้นที่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ เช่น ผักเหลียง ผักกูด พริก ตะไคร้ ฝัก มะนาว มะกรูด ยี่หร่า เป็นต้น

2. พันธุ์ปลา เช่น ปลาดุก ปลาทับทิม

อุปกรณ์ ->

1. ท่อซีเมนต์

          2. จอบหรือเสีย

          3. บัวรดน้ำหรือสายยาง

          4. พลั่วพรุนดิน

          5. ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยพืชสด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

                   1. เตรียมวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่ โดยพิจารณาบริบทพื้นที่ของตนเอง

                   2. เตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการทำเกษตรผสมผสาน

         ขั้นตอนการดำเนินการ

          1. เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม ปลูกในพืชที่โดยให้มีการพึงพาอาศัยกัน เช่น ปลูกผักกูดในท่อซีเมนต์ ภายใต้ต้นปาล์มน้ำมัน เพราะต้นผักกูดไม่ชอบแสงแดดมากเกินไป อาศัยใบต้นปาล์มน้ำมันบังแดดให้กับผักกูด

          2. เลือกพันธุ์ปลามาเลี้ยงในท่อซีเมนต์ โดยเลือกเป็นปลาดุก ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปเป็นปลาดุกร้า นอกจากนี้น้ำที่เลี้ยงปลาดุกสามารถนำมารดน้ำพืชผักที่ปลูกได้ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี

          3. ปลูกพืชผักที่ใช้ภายในครัวเรือนไว้ข้างบ้าน เช่น ตะไคร้ ยี่หร่า โหระพา กะเพรา มะนาว ซึ่งพืชเหล่านี้เป็นพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร สามารถลดรายจ่ายในการซื้อจากท้องตลาด

          4. การบำรุงรักษา ใช้วิถีการทางธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี เช่น การกำจัดใบพืชที่ติดเชื้อโรค ด้วยการเด็ดทิ้ง การใช้ฮอร์โมนชีวภาพ การใช้ปุ๋ยชีวภาพ

          5. การจำหน่ายจะนำพืชผักที่ปลูกจำหน่ายภายในหมู่บ้าน หรืออาจจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงบ้าน

           

ข้อพึงระวัง ->

การทำเกษตรผสมผสาน ต้องศึกษาชนิดของพืชผักที่ปลูก ว่ามีลักษณะอย่างไร มีคุณสมบัติแบบไหน รวมทั้งต้องเข้าใจบริบทพื้นที่ของตนเอง หากไม่เข้าใจบริบทของพืช พื้นที่ จะทำให้เกิดการไม่เอื้อต่อกัน ไม่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสาน

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา