ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำหมักไล่แมลงและศัตรูพืช

โดย : นายธวัช สยมพร วันที่ : 2017-04-03-21:09:43

ที่อยู่ : 32/1 หมู่ที่ 7 ตำบลเชี่ยวเหลียง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การใช้สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช  ได้รับการพิสูจน์และยอมรับทั่วไปแล้ว ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงโรคพืช  โดยเฉพาะสำหรับการปลูกพืชผักผลไม้ไม่แพ้การใช้สารเคมี  แต่มีข้อดีกว่าหลายอย่าง  คือ  มีราคาถูก  ปลอดภัยต่อเกษตรผู้ใช้  ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค  รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ในแปลงพืชผัก  ไม่ตกค้าง                ในดิน  และสภาพแวดล้อม

วัตถุประสงค์ ->

­­1.  ลดรายจ่ายในการซื้อสารเคมี

2.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 

3.  สร้างสมดุลของระบบนิเวศน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      สะเดา

2.      ตะไคร้หอม

3.      หัวข่า

4.  ใบหรือเมล็ดสะเดา

อุปกรณ์ ->

1.       มีด

2.      ถังน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/ขั้นตอนการผลิต    

ส่วนผสม

          ใบสะเดา  หรือเมล็ดสะเดา  1  กก.

          หัวข่า             1  กก.

          ตะไคร้หอม       1  กก.

วิธีทำ

          สับส่วนผสมแต่ละอย่างให้เป้นชิ้น  ขนาด  3.5  ซม.  หรือจะตำรวมกันให้ละเอียด  เติมน้ำ  20  ลิตร  หมักทิ้งไว้  3  คืน  กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้

วิธีการนำไปใช้

          นำน้ำสมุนไพรที่หมักได้  1  ลิตร  ผสมน้ำ  10  ลิตร  ฉีดพ่นผักผลไม้

ประโยชน์

          ใช้ในการป้องกันผีเสื้อกะหล่ำ  หนอนคีบ  เพลี้ยอ่อน  แมลงในยุ้งฉาง

ข้อพึงระวัง  ข้อเสนอแนะ

                    1. ควรใช้สารสกัดชีวภาพจากพืชสมุนไพรแต่ละสูตรสลับกันไปทุก ๆ 5 – 7  วัน เช่น  อาทิตย์แรกใช้สารสกัดบอระเพ็ด  อาทิตย์ที่ 2 ใช้สารสักจากสะเดา  อาทิตย์ที่ 3  ใช้สารสกัดจากพริก  อาทิตย์ที่ 4   ใช้สารสกัดจากสาบเสือ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลงศัตรูพืช  จึงไม่ควรใช้สารสกัดสูตรเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน  อย่างที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ขณะนี้
                2. การหมักน้ำสกัดจากพืชสมุนไพรจากพืชบางชนิด  เช่น พริก  ข่า  ตะไคร้หอม  สะเดา  ไม่ควรหมักไว้เกินกว่า  3 วัน  เพราะทำให้น้ำหมักมีกลิ่นบูดเน่าและสารกำจัดแมลงเสื่อมคุณภาพได้ ควรหมักไว้  1 - 2 คืน  แล้วกรองเอาน้ำสกัดออกมาเก็บไว้ใช้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
                3. ควรจะหมักน้ำสกัดพืชสมุนไพร  หลาย ๆ ขนาน  พร้อม ๆ กัน  แล้วกรองเก็บไว้สลับกันใช้ตามข้อ 1
                4. การใช้น้ำสกัดสมุนไพรควรเริ่มใช้ในอัตราส่วนที่ต่ำ ๆ  ก่อน  เช่น  5 ช้อนแกง  ต่อน้ำ 10 ลิตร  แล้วจึงเพิ่มอัตราส่วนขึ้นทีละน้อย  เพราะพืชผักบางชนิดอาจจะชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้ยอดหรือใบไหม้ได้
                5. เศษพืชสมุนไพรที่กรองเอาน้ำหมักออกแล้ว  นำไปใส่ตามโคนต้นไม้ผล  หรือหว่านในแปลงกล้าข้าว เพื่อขับไล่หรือกำจัดแมลงศัตรูพืชได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา