ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นางปรานิตย์ ศรีโสภา วันที่ : 2017-04-01-00:01:22

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 8 ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 85110

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันไก่พื้นเมืองหรือไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมีเนื้อรสชาติอร่อย และเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคือปริมาณไก่บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 - 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียพอสมควร ดังนั้นข้าพเจ้าจึงปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสมผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่พันธุ์แท้ ส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้น เพิ่มรายได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้

2. เพื่อลดต้นทุนการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ไม้ไผ่

                   2. แกลบ/ขี้เลื่อย/ฟาง

                   3. รำข้าว/ข้าวเปลือก

                   4. จาก

๕.พันธ์ไก่พื้นเมือง

อุปกรณ์ ->

1. เล้า 

2. สุ่ม 

3. รางอาหาร 

4. ภาชนะใส่น้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ไก่พื้นเมือง หรือเรียกว่า ไก่บ้าน หรือไก่ไทยเป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ เริ่มต้นจากซื้อลูกไก่อายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไปมาเลี้ยง สร้างโรงเรือนหรือเล้าให้ไก่นอนแบบง่าย ๆ โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่นำมากั้นเป็นเล้า มุงหลังคาด้วยแฝกหรือจาก พื้นเล้าต้องไม่ชื้นแฉะ อาจปูด้วยแกลบ ขี้เลื่อย หรือฟางแห้ง หนาอย่างน้อย 4 ซ.ม. และต้องเปลี่ยนทุก ๆ 3 เดือนให้หนาเท่าเดิมอยู่เสมอ เล้าไก่ต้องมีประตูเปิด-ปิดได้ เพื่อให้ไก่ออกหาอาหารกินเอง  ภายนอกได้

                    - เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ 30 - 40 ตัว

                    - เล้ากว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ 6 - 8 ตัว

ภายในเล้าประกอบด้วยอ่างดิน แล้วเอาลวด

1. ภาชนะใส่น้ำ ซื้อที่บรรจุน้ำสำหรับไก่ หรือใช้ภาชนะอื่น เช่น ตาข่ายมาดัดโค้งคลุมภาชนะ เพื่อให้ไก่ยื่นคอไปดื่มกินได้เท่านั้น ไม่อาจเหยียบย่ำให้หกเลอะเทอะได้

2. รางอาหาร ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าครึ่ง และใช้สลักตอกยึดกับพื้นไม่ให้รางพลิก

3. รังไข่ เพื่อให้แม่ไก่ไข่และฟักไข่ ใช้เข่งขนาดกลางรองด้วยหญ้าหรือฟางแห้งให้ถึงครึ่ง ตั้งไว้ในที่มิดชิด แต่ไม่ร้อนเกินไป และให้มีจำนวนรังไข่เท่ากับจำนวนแม่ไก่ที่จะไข่

4. ม่านกันฝน ด้านที่ฝนสาดหรือแดดส่องมาก ๆ ควรมีกระสอบหรือเสื่อเก่า ๆ  บังไว้

5. คอนนอน สำหรับให้ไก่นอน ควรทำจากไม้กลมพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของเล้า

การให้อาหารไก่

1. มีน้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และเปลี่ยนน้ำทุก ๆวัน

2. ให้อาหารหลายๆ ชนิดผสมกันทุกเช้า-เย็น ได้แก่ ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น     ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว เป็นต้น หรือใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมกับรำข้าวหรือปลายข้าวก็ได้ ที่สำคัญควรมีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น และผักสด เช่น ใบกระถิน ใบแค ให้ไก่กินทุกวัน เพื่อเสริมสร้างแร่ธาตุและไวตามิน

ข้อพึงระวัง ->

ควรระวังโรคระบาดที่ร้ายแรงและสำคัญ ได้แก่

1. โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคระบาดไก่ที่ร้ายแรงที่สุด อาการ หายใจลำบาก น้ำมูกไหล  คอบิด ขาและปีกเป็นอัมพาต อุจจาระร่วงเป็นสีเขียวการป้องกัน   ฉีดวัคซีนให้ไก่ตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป

2. โรคฝีดาษไก่ อาการ มีตุ่มคล้ายหูดเกิดขึ้นตามผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน ที่หัวของฝีเป็นแผลมีสะเก็ดสีน้ำตาลปิดอยู่ ต่อมาจะแห้ง และหลุดไป หรืออีกอาการหนึ่ง คือ เป็นแผลในลำคอ น้ำลายไหลยืด มีกลิ่นเหม็นมาก

3. โรคอหิวาต์ อาการ ถ้าเป็นอย่างร้ายแรง ไก่จะตายโดยไม่แสดงอาการให้เห็น ถ้าเป็นอย่างอ่อน ไก่อาจป่วยเป็นเดือน อาการหงอยซึม เบื่ออาหาร ท้องร่วง อุจจาระเป็นสีเหลืองหรือเขียว การป้องกัน ต้องรักษาความสะอาดในเล้าไก่ ฉีดวัคซีนให้ไก่อายุ 1 เดือนขึ้นไปนอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค เช่น โรคหลอดลมอักเสบโรคพยาธิ เป็นต้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคต่าง ๆ คือ การรักษาความสะอาดเล้าไก่ และภาชนะต่าง ๆ ในเล้า

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา