ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

น้ำส้มควันไม้

โดย : นายสงวน ศรีเมือง วันที่ : 2017-04-03-16:19:03

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 12/1 หมู่ที่ 8 ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 85110

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเผาถ่านเป็นอาชีพของคนในชุมชนสมัยก่อน จนปัจจุบันมีให้เห็นน้อยมาก เพราะปัจจุบันป่าไม้ลดลงจำนวนมาก จึงเกิดแนวคิดวิธีและวัตถุดิบในการนำมาแทนถ่านไม้ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การเผาถ่านโดยปกตินั้นจะมีควันที่เกิดจากการเผาถ่าน ส่วนใหญ่จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ปราชณ์ชาวบ้านหลายๆ ท่านได้คิดที่จะนำควันดังกล่าวมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง ซึ่งควันในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่านเมื่อทำให้เย็นลงจนควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จะได้สิ่งที่เรียกว่าของเหลวสีคล้ำเหนียว เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ มีกลิ่นไหม้ของกำมะถันอยู่มาก ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก ซึ่งมีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง น้ำส้มควันไม้ที่ได้นี้ หากทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือนในที่ร่ม ลดการสั่นสะเทือนของภาชนะบรรจุเพื่อให้มีการตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกจะได้ น้ำมันเบา ที่ลอยอยู่ผิวน้ำ ชั้นที่สองเป็นน้ำส้มไม้ และถัดมาเป็นน้ำมันทาร์ ตกตะกอนอยู่ด้านล่างสุด สามารถสกัดคัดแยกส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว

2. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ไม้

2. ตะไคร้หอม

3. แกลบดิน

อุปกรณ์ ->

1. ถังน้ำมัน

2. ขวดน้ำพลาสติก

                   3. ถังน้ำพลาสติก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ก่อนอื่นต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อน ถังประมาณ 200 ลิตร

2. ถังแกลลอนน้ำมัน หากเตาใหญ่สามารถเพิ่มได้ ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร (ความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลางอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ทนความร้อนได้ ใช้สำหรับทำปล่องควัน

3. แกลบดิบประมาณ 2-3 กระสอบปุ๋ย

4. ไม้ หรือเชื้อเพลิงที่จะเผาทำเป็นถ่าน ควรเป็นไม้ที่ไม่ใหญ่มาก และเป็นไม้ที่มีน้ำในเนื้อไม้ไม่มากเกินไป เป็นไม้ที่ตัดทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือมากกว่า เนื่องจากไม้ที่ตัดสดใหม่จะใช้เวลานานในการเผาและมีน้ำมาก เลื่อยเป็นท่อนเพื่อสะดวกในการนำใส่ภาชนะเผา

5. ตะไคร้หอม 5-10 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มความหอม

6. ขวดน้ำพลาสติก 2 ขวด

7. ถังพลาสติกสำหรับเก็บเอาน้ำส้มควันไม้

8. ดัดแปลงถังน้ำมันเก่า 200 ลิตรโดยต่อท่อออกมาด้านนอกความสูงระดับ 90% ของตัวถังเป็นรูปตัวT ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว โดยด้านบนจะเป็นปล่องควันและด้านล่างเป็นบริเวณที่ให้น้ำส้มควันไม้หยดออกมา ส่วนฝาปิดถังก็ต่อท่อออกมาเช่นกันความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นเจาะรูด้วยสว่านข้างถังทั้ง 3 ด้านเส้นผ่าศูนย์กลาง ¾ นิ้ว (3หุน) สูงจากพื้นด้านล่างประมาณ 20 เซนติเมตรเพื่อระบายอากาศ

9. ถังขนาด 200 ลิตรจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 56 ซม. สูง 89 ซม. จะแบ่งใส่วัตถุดิบออกเป็นชั้นๆ คือ

– ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ใส่แกลบดิบความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร หรือไม้ที่เป็นเชื่อเพลงอื่น – ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 4 ใส่ตะไคร้หอมความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร

                   – ชั้นที่ 5 เป็นชั้นสุดท้ายให้เทแกลบดิบใส่ลงไปในถังให้เต็ม

10. จุดไฟเผาวัสดุที่เป็นส่วนผสมทั้งหมดและปิดฝาถังโดยปล่อยให้ควันลอยออกมาทางปล่องควันที่ต่อออกมา ประมาณ 1 ชั่วโมง สังเกตลักษณะของควันที่เผาไหม้ว่าอยู่ในระดับที่จะสามารถกลั่นออกมาเป็นน้ำส้มควันไม้ได้หรือไม่ โดยสังเกตจากช่วงที่ควันมีสีขาวขุ่นออกเหลือง อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80-150 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ผลผลิตจะมีคุณภาพดีที่สุด

11. ทำการปิดปากปล่องควันด้านบนโดยใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำเปล่าปิดรูไว้ทั้ง 2 ปล่อง ควันที่ร้อนภายในเมื่อกระทบความเย็นจะเริ่มควบแน่นประมาณ 10 นาที จากนั่นกลั่นตัวออกมาเป็นหยดน้ำไหลออกมาทางด้านล่างของปล่องควันจะได้น้ำส้มควันไม้สมุนไพรบริสุทธิ์ โดยใช้เวลาเผาไหม้ทั้งหมด 24 ชั่วโมง

12, ปริมาณของวัตถุดิบสามารถผลิตน้ำส้มควันไม้ได้ 15 ลิตร ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำส้มควันไม้เก็บไว้ใช้งานต่อไปได้ หรือทิ้งไว้ให้ตกตะกอน
                  

ข้อพึงระวัง ->

1. ก่อนนำไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้สารบางอย่างมีการตกตะกอนและเจือจาง เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดไม่ถึงกับสูงมาก แต่หากถูกสัมผัสโดนส่วนของร่างกายในบริเวณที่บอบบางอาจทำอันตรายได้

2. ควรระวังอย่าให้เข้าตา เพราะอาจทำให้ตาบอดได้ น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยาให้สารเคมีที่ถูกผสมเข้าด้วยกันมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้นั่นเอง

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา