ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงผึ้ง

โดย : นายวิชัย เสือวิเศษ วันที่ : 2017-03-31-14:50:41

ที่อยู่ : 21/5 หมู่ที่ 5 ตำบลเชี่ยวเหลียง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายวิชัย  เสือวิเศษ   เป็นคนดั่งเดิมในพื้นที่บ้านนาใน ตำบลเชี่ยวเหลียง เป็นเกษตรกร สวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน ด้วยลักษณะนิสัยที่ชอบการทำเกษตร และสภาพพื้นที่บ้านเอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพ จากการสังเกตในสวนผลไม้  มักมีผึ้งโพรง จึงได้เกิดความคิดในการเลี้ยงผึ้งโพรง  และได้ลองผิดลองถูก จนปัจจุบันเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้งามให้กับครอบครัวและคนบริเวณโดยรอบ

วัตถุประสงค์ ->

­­1.  สร้างรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลัก

2.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 

3.  ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

4.  สร้างสมดุลของระบบนิเวศน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เสาไม้หรือเสาซีเมนต์

2. ไม้กระดาน

3. สังกะสี หรือ กระเบื้อง

4. ตะปู

อุปกรณ์ ->

๑.ฆ้อน

๒.เหล็กฉาก

๓.เหล็กชะแลง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำให้ผึ้งเข้ารัง

1. เอารังผึ้งที่คั้นน้ำผึ้ง (ขี้สา) มาชุปกับน้ำผึ้ง จำนวน 1 ก้อน

2. ทาบริเวณภายในรังผึ้งให้ทั่วถึง เพื่อล่อผึ้งเข้ารัง

 

เทคนิคในการรวมรังผึ้ง

ในกรณีที่เราตรวจพบว่ารังใดขาดนางพญา มีนางพญาแต่ไม่ดี หรือเป็นรังที่อ่อนแอ

ให้ทำลายนางพญานั้นทิ้ง จากนั้นก็นำไปรวมกับรังอื่น โดยวิธีที่นิยมใช้กันมากก็คือ การใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คั่นระหว่างรัง ให้ปฏิบัติดังนี้

1. ให้เลือกทำการรวมรังให้เป็นเวลาเย็นหรือพลบค่ำ

2. เตรียมกระดาษหนังสือพิมพ์ 1 แผ่น ให้มีขนาดความกว้างยาวเท่ากับตัว กล่องรัง

ผึ้ง หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย ใช้ของแหลมขนาดเล็ก เช่น ปากกาลูกลื่นแทงกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เป็นรูเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป

 

3. เปิดฝารังและแผ่นปิดรังด้านในออก (รังผึ้งที่แข็งแรงตั้งไว้ด้านบน) เอา กระดาษ

หนังสือพิมพ์ที่จัดเตรียมไว้วางคลุมทาบลงไปด้านบน

4. นำรังผึ้งที่จะนำไปรวมรังซ้อนขึ้นข้างบนเหนือแผ่นกระดาษหนังสือพิมพ์แล้ว ปิดฝา

รังด้านบน

5. ประมาณ 1-2 วัน เปิดตรวจเช็ครังผึ้งดู ผึ้งทั้งสองรังจะกัดแผ่นกระดาษ

หนังสือพิมพ์ทะลุเข้าไปหากัน เก็บเศษกระดาษหนังสือพิมพ์ออก ผึ้งทั้งสองรังจะยอมรับซึ่งกันและกัน และจะทำงานเป็นปกติ ให้จัดการรวมผึ้ง 2 รัง เข้าด้วยกันโดยจัดเรียงคอนต่าง ๆ เสียใหม่ และนำรังผึ้งด้านบนออก

 

ศัตรูของผึ้ง

การเลี้ยงผึ้งโพรงนั้นนอกจากผู้เลี้ยงผึ้งจะประสบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการรัง

ผึ้งแล้ว ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำความเสียหายให้กับผึ้งที่เลี้ยงก็คือปัญหา เรื่องโรคและแมลงที่เป็นศัตรูของผึ้ง ซึ่งแบ่งออกเป็น
         1. พวกสัตว์ที่กินผึ้งเป็นอาหาร

ได้แก่ แมงมุม จิ้งจก ตุ๊กแก คางคก กบ อึ่งอ่าง นกต่าง ๆ เช่นนกกิ้งโครง นกแอ่นลม

กิ้งก่า จิ้งเหลน เป็นต้น สัตว์เหล่านี้จะจับกินผึ้งเป็นอาหาร เมื่อพบในแหล่งเลี้ยงผึ้งให้กำจัดทิ้งหรือไล่ไป และทำความสะอาดรังอยู่เสมอ
         2. พวกแมลง

     - หนอนผีเสื้อกินไขผึ้ง (Wax Moth) เป็นศัตรูที่สำคัญของผึ้งโพรงและพบในรังผึ้งที่

อ่อนแอ มีประชากรน้อย ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง มาวางไข่ในรังผึ้งที่อ่อนแอ มีประชากรน้อย ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งมาวางไข่ในรังผึ้ง ตัวอ่อนซึ่งเป็นตัวหนอนจะไปกัดกินรวงผึ้งให้เสียหาย ป้องกันโดยทำให้ประชากรผึ้งแข็งแรง

      - มดต่าง ๆ จะเข้าไปกัดกินตัวอ่อน ตัวแก่ตัวผึ้งและจะขโมยน้ำผึ้งในรัง ป้องกัน

โดยการใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องเก่าพันรอบเสาหรือขาตั้งรังผึ้ง

      - ปลวก จะดักกินรังผึ้งทำให้รังเลี้ยงผึ้งผุกร่อนพังไปไม่สามารถใช้เลี้ยงผึ้งได้ ให้

หมั่นตรวจทำความสะอาดรังผึ้งอย่างสม่ำเสมอ

      - ไร ซึ่งดำรงชีวิตแบบตัวเบียนจะดูดกินของเหลวภายในตัวผึ้งหรือเลือดผึ้ง ไรที่

เป็นศัตรูของผึ้งโพรง คือ ไรวาร์รัว ผึ้งที่ถูกไรเบียนถ้ารอดชีวิตอยู่ได้จะพิการ รูปร่างผิดปกติ ปีกไม่แผ่ออกในสภาพปกติตามธรรมชาติ ผึ้งโพรงจะมีความต้านทานต่อการระบาดของไรศัตรูผึ้ง โดยจะพบเห็นไรถูกผึ้งงานกัดทำลาย และถ้าในรังผึ้งโพรงมีไรระบาดมาก ผึ้งโพรงจะย้ายทิ้งรัง การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดไรจึงไม่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงผึ้งโพรง
         3. โรคผึ้ง

โรคของผึ้งโพรงที่พบมากคือโรคแซดบรูคที่ระบาดในท้องที่ภาคใต้ เกิดจาก เชื้อไวรัส

ลักษณะของโรคตัวอ่อนจะตายก่อนปิดฝาและระยะปิดฝา ตัวอ่อนมีสีขาวขุ่นถึงเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจึงค่อย ๆ แห้ง โดยส่วนหัวจะหด ส่วนท้ายจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำ การรักษาและป้องกันกำจัดโดยวิธีทำให้รังผึ้งแข็งแรงต้านทานโรค เปลี่ยนรวงตัวอ่อนที่เป็นโรคทิ้ง นำไปเผาทำลายทิ้งและเปลี่ยนนางพญาใหม่ เพราะอาจเกิดการแพร่เชื้อจากการวางไข่ของผึ้งนางพญา โดยการถ่ายทอดเชื้อทางกรรมพันธุ์

         

 

 

การจับผึ้งเพื่อเก็บน้ำผึ้ง

การจับผึ้งนั้นจะต้องจับช่วงแล้งเท่านั้น ประมาณเดือน 5 ของปี ต้องให้ผึ้งเข้ารังอย่างน้อย 6-8 เดือน ห้ามจับผึ้งช่วงฤดูฝนแดดขาด เพราะผึ้งจะมีความดุ และความหวานของน้ำผึ้งจะน้อยกว่าปกติ

ข้อพึงระวัง ->

ต้องกันอย่าให้มดเข้าในรังผึง

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา