ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเกษตรผสมผสาน (ผักสวนครัวและการเลี้ยงสัตว์)

โดย : นายอุดร ชาติวุฒิ วันที่ : 2017-03-23-16:14:51

ที่อยู่ : 18/3 หมู่ที่ 9 ตำบลกะเปอร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นางสมศักดิ์  หัสดง เดิมเป็นคนจังหวัดศรีสะเกษ ได้อพยพมาอยู่ บ้านหินขาว หมู่ที่ 9 ตำบลกะเปอร์ เมื่อปี พ.ศ.2529 เพื่อมาทำสวนกาแฟ และสวนยางพารา แต่เนื่องด้วยการทำสวนกาแฟและสวนยางพารา  ไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้เท่าที่ควร จึงได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ด้วยการใช้พื้นที่บริเวณบ้าน จำนวน 1 ไร่ 1 งาน ปลูกทุกอย่างที่อยากกิน    และไม่ใช้สารเคมีกับพืชที่ปลูก เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง พบว่า ผักสวนครัวที่ปลูกไว้ เกินกว่าความต้องการ   ในการบริโภคภายในครัวเรือน จึงได้นำไปสู่การจัดแจกจ่ายให้กับคนในชุมชน หลังจากนั้น จึงได้เกิดเครือข่ายของผู้ค้า เข้ามารับซื้อผักสวนครัว สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว และชุมชน พืชผักที่ปลูกจะเป็นพืชผักสวนครัว เช่น มะเขือ ชะอม ถั่วฟักยาว ถั่วพู ผักบุ้ง ข้าวโพด รวมทั้งมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลาทับทิม ปลานิล ไก่พันธุ์ไข่ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

1. ต่อตนเอง     

                   เป็นการสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยใช้วัตถุดิบเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญภายในชุมชนสามารถนำมาทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

          2. ต่อชุมชน

                   ชุมชนเกิดความสัมพันธ์ที่ดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างปราชญ์ชาวบ้านและผู้สนใจ รวมทั้งชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนโดยรอบ

3. ต่อสังคม

                   เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้านในพื้นที่ให้คงอยู่ตลอดไป

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดพันธุ์ผัก หรือต้นพันธุ์พืช

2. พันธุ์ปลาน้ำจืด

อุปกรณ์ ->

1. เครื่องมือทางการเกษตร

2. สถานที่สำหรับการทำการเกษตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการในการทำเกษตรผสมผสาน คือ

1. แนวคิดการปลูกทุกอย่างที่กิน

                    ได้นำหลักการของการทำเกษตรผสมผสาน โดยปลูกทุกอย่างที่ไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ตั้งแต่ตะไคร้ กะเพรา มะเขือ เมื่อเหลือจากการบริโภค จึงจำหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่นำไปจำหน่ายภายในตัวอำเภอกะเปอร์ รวมทั้งแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านภายในชุมชน  เช่น ปลูกถั่วพู เพื่อบริโภค จำหน่าย และขยายพันธุ์ บ่อเลี้ยงปลาทับทิม และปลานิล

2. ใช้ระบบธรรมชาติช่วยส่งเสริมกัน

การทำเกษตรผสมผสานภายในพื้นที่ นำหลักการระบบธรรมชาติเข้ามาประยุกต์ ด้วยการปลูกต้นชะอม ซึ่งเป็นพืชที่ช่วยในการไล่แมลง นำไปสู่การปลอดสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช 

 

3. เรียนรู้จากประสบการณ์

การทำเกษตรผสมผสาน บางครั้งต้องมีการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก บ่อยครั้งที่มีปัญหา ถึงการบริหารจัดการภายในสวนเกษตรผสมผสาน จำเป็นต้องหาความรู้ และแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีประสบการณ์

 

 

ข้อพึงระวัง ->

การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ เป็นการสร้างเกราะป้องกันด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน ซึ่งปัญหาสำคัญคือ การที่ทุกครัวเรือนปลูกเป็นจำนวนมาก ควรประสานผู้ซื้อให้ได้ราคา มาตรฐาน ก่อเกิดรายได้ต่อไป

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระนอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา