ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกต้นเหลียง

โดย : นายดำรง รามแก้ว วันที่ : 2017-03-22-11:19:58

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 132/3 หมู่ที่ 5 ตำบล บาละ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     เมื่อปี 2553 บ้านสี่สิบได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ อยู่ดี กินดี จากกรมการพัฒนาชุมชน สนับสนุนงบประมาณโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงต้นแบบ

ได้มีการจัดเวทีประชาคมและศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงดีเด่นในต่างจังหวัด

ได้เห็นมีการปลูกต้นเหลียง ในสวนยาง จึงได้ของบประมาณจากสำนักงานพัฒนาชุมชนให้สนับสนุนต้นเหมียงแก่ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน เมื่อข้าพเจ้าได้พันธุ์ผักเหลียงมาก็ได้นำไปปลูกในสวนยางและบริเวณบ้านและข้าพเจ้าได้ซื้อพันธุ์ผักเหมียงมาปลูกเพิ่มอีก

จึงเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานอื่นมาดูเป็นตัวอย่าง และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการเกษตรของหมู่บ้านและผู้สนใจทั่วไปจนถึงปัจจุบันนี้

วัตถุประสงค์ ->

ผักเหลียงเป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ในที่ร่ม ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูงและต้องเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกต่อเนื่อง จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ภาคใต้ด้วยมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เป็นผักที่คนภาคใต้นิยมปลูกแซมสวนไม้ผล ยางพารา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พันธุ์ผักเหลียง

2. เมล็ดพันธุ์

อุปกรณ์ ->

1. จอบ

2. พันธุ์ผักเหลียง

3. เมล็ดพันธุ์

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูกผักเหลียงแซมในสวนยางพารา  ปลูกในแปลงยางพาราที่ใช้ระยะปลูก 3x7 เมตร โดยปลูกผักเหลียงระยะห่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร หรือปลูกในแปลงยางพาราที่ใช้ระยะปลูก 2.5x8 เมตร โดยปลูกผักเหลียงระยะระหว่างต้น 2.5 เมตร และระยะระหว่างแถว 2.5 เมตร ขนาดหลุมปลูกกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร ขุดหลุมแยกดินบนไว้ข้างหนึ่ง ดินล่างไว้ข้างหนึ่ง ตากหลุมไว้ 2 สัปดาห์ จากนั้นนำปุ๋ยคอกและดินชั้นบนผสมกับปุ๋ยรองก้นหลุมร็อกฟอสเฟต 100 กรัม ต่อหลุม แล้วจึงปลูกผักเหลียง โดยกรีดบริเวณก้นถุงออกไป นำต้นพันธุ์วางลงในหลุมปลูกกรีดข้างถุง เอาถุงออก กลบดินบริเวณโคนให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ไม้หลักปักเชือกผูกให้เรียบร้อย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกคือ ต้นฤดูฝน

ส่วนการดูแลรักษา แนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี และปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัม ต่อต้น ต่อปี การกำจัดวัชพืชโดยการตัดวัชพืชที่อยู่บริเวณรอบโคน นำเศษวัชพืชมาคลุมโคนในช่วงฤดูแล้ง การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งกิ่งให้เหลือความสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อความสะดวกในการเก็บผลผลิต เป็นการเร่งการแตกกิ่งและขยายทรงพุ่มเพื่อเพิ่มผลผลิต ควรกำจัดไหลของผักเหลียงให้ห่างจากต้นยางประมาณ 2 เมตร  การเก็บเกี่ยว ผักเหลียงที่ปลูกจากการชำถุง จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 2 ปี ขึ้นไป ยอดที่เก็บเกี่ยวแล้วจะเก็บได้ใหม่ เมื่อครบ 25-30 วัน การเก็บเกี่ยวควรเก็บให้ชิดข้อ ไม่ควรเก็บกลางข้อ เพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนครั้งต่อไปช้า การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในที่ร่ม พรมน้ำแต่พอชุ่ม สามารถเก็บสดอยู่ได้นาน 5-6 วัน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น การขายเป็นกำ (มัด) มัดละ 70-10 กรัม ราคากำละ 3-5 บาท

ข้อพึงระวัง ->

การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในที่ร่ม พรมน้ำแต่พอชุ่ม สามารถเก็บสดอยู่ได้นาน 5-6 วัน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยะลา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา