ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกล้วย

โดย : นางสังวาลย์ เมืองคง วันที่ : 2017-09-24-15:58:56

ที่อยู่ : 45 หมู่ที่ 2 บ้านโคกกลาง ตำบลโคกนาโก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการได้เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร วิทยากรปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ณ ศูนย์การศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี และได้รับมอบหมายภารกิจจากกรมการพัฒนาชุมชน ให้เป็นวิทยากรโดยสร้างทีมวิทยากรร่วมกับปราชญ์ในชุมชนอีก 4 คน ได้คัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพในชุมชนจำนวน 20 ครัวเรือน ซึ่งมีความประสงค์ที่จะปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อลดพื้นที่การปลูกอ้อย   ปลูกมันสำปะหลัง
2.สร้างรายได้ทดแทนพืชที่ราคาตกต่ำ  เช่น  อ้อย  มันสำปะหลัง
3. มีรายได้ทดแทนพืชอื่นๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กล้วย

ปุ๋ยอินทรีย์

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.ประชุมชี้แจงโครงการสัมมาชีพชุมชนให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ
2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกกล้วยน้ำว้า
3. นำครัวเรือนสัมมาชีพศึกษาดูงาน
4. ส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพทำการปลูกกล้วยน้ำว้า
5. วางแผนการเก็บผลผลิตและจำหน่าย
6. ติดตามและประเมินผล

ข้อพึงระวัง ->

1.เตรียมดินให้มีสภาพเหมาะสมที่จะลงหน่อกล้วยดินที่เหมาะสำหรับปลูกกล้วยคือดินร่วน
2.ขุดหลุ่มให้มีขนาดกว้าง 50X50 เชนติเมตร นำดินที่ที่ขุดได้กองตากไว้ 5-7 หลังจากนั้นเอาดินชั้นบนที่ตากไว้ลงไปก้นหลุ่ม  ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ่ยหมักที่สลายตัวแลัว  ให้สูงประมาณ 20 เซนติเมตร คลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบนที่ใส่ลงไป
 3.ใส่หน่อกล้วยลงไปกลางหลุ่มเอาดินล่างกลบ  รดน้ำ กดดินให้แน่น  ยอดของหน่อควรสูงกว่าระดับดินดินประมาณ 10 เชนติเมตร  ควรหันรอยแผลของหน่อให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน  เพระเมื่อโตเต็มที่และติดผล  ผลจะเกิดตามทิศทางรอยแผล  และอยู่ในทิศทางเดียวกันเพื่อสะดวกในการทำงาน แต่หากเป็นต้นที่เกิดจากการเพาะเนื้อเยื่อ  จะไม่มีทิศทางของรอยแผล  ในการวางต้นจำเป็นต้องมีทิศทาง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา