ความรู้สัมมาชีพชุมชน

องค์ความรู้เทคนิคการเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายพรดนัย ศรีวะสุทธิ์ วันที่ : 2017-09-22-17:58:25

ที่อยู่ : 43 หมู่ 10 ตำบลนาโส่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาดุกเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว และอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้น ในปัจจุบัน การเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ้กอุย"ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย (ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ้งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็วและต้านทานโรคได้ดี ลักษณะทั่วไปของปลาดุก คือ เป็นปลาไม่มีเกล็ด ตัวยาวเรียว ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง มีอวัยวะช่วยในการหายใจ ซึ่งช่วยให้ปลาดุกมีความอดทนสามารถในสภาพน้ำ ที่ไม่เหมาะสม หรืออยู่พ้นน้ำได้นาน ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่ออาจให้อาหารจำพวกพืช และสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำได้
             การเลี้ยงปลาดุก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์และในกระชัง แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน 1 ไร่

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายปลาดุก และมีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงปลาดุก และเป็นการลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ปลาดุกและอาหารปลาดุก
2.ปูนขาวและปุ๋ยคอก

อุปกรณ์ ->

1.ปลาดุกและอาหารปลาดุก
2.ปูนขาวและปุ๋ยคอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาดุก             
ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้น บ่อ
                 - ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่ว บ่อ
                 - เติมน้ำ ให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้ง ไว้ 1-2 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

การปล่อยลูกปลา
             เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำ ในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

ข้อพึงระวัง ->

โรคของปลา

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา