ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมะขามหวาน

โดย : นายสืบ ราญมีชัย วันที่ : 2017-09-21-17:23:04

ที่อยู่ : 92 หมู่ที่ 15 ตำบลกุดชุม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มะขามหวานเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน อีกทั้งในชุมชนของอำเภอกุดชุม ยังมีเกษตรกรที่ปลูกมะขามหวานน้อย  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมองเห็นโอกาสในการปลูกมะขามหวานเพื่อจำหน่าย ดดยแรกเริมนั้น ข้าพเจ้าทดลองปลูกมะขามหวานจำนวน 5 ต้น ไว้ในที่นาของตนเอง ปรากฎว่าพอให้การดุแลรักษาเป็นอย่างดีแล้ว ทำให้ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ และมีบ้านข้างเคียงให้ความสนใจด้วยเช่นกัน ข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดที่จะทำการขยายพันธุ์เอง โดยการหาพันธุ์มะขามหวานดีๆ มาเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์มะขามหวานอย่างดี

ปุ๋ยคอก

ปุ๋ยอินทรีย์

ดิน

อุปกรณ์ ->

มีด

จอบ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ารปลูกมะขามหวาน
การปลูกมะขามหวาน ปัจจุบันนิยมใช้ต้นพันธุ์จากการตอนกิ่ง และการต่อยอด เพราะจะได้ลักษณะฝักตามพันธุ์จากต้นแม่ ฝักไม่เปลี่ยนแปลง และหากปลูกด้วยเมล็ดจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นมะขามเปรี้ยวได้สูง

การเตรียมแปลง
สำหรับการปลูกครั้งแรก ให้ทำการไถกลบหน้าดิน แล้วตากดิน นาน 5-10 วัน พร้อมกำจัดหญ้าเสียก่อน 2 ครั้ง หลังจากนั้น ทำการขุดหลุมปลูกในระยะ 8-12 x 8-12 เมตร ขนาดหลุมกว้าง ยาว และลึกที่ 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ ให้ขุดหลุมในแนวยาวที่ขวางดวงอาทิตย์
– พันธุ์ทรงพุ่มแคบ อาทิ พันธุ์สีชมพู พันธุ์อินทผาลัม ใช้ระยะปลูกที่ 8 x 8 เมตร
– พันธุ์ทรงพุ่มใหญ่ อาทิ พันธุ์หมื่นจง พันธุ์สีทอง ใช้ระยะปลูกที่ 12 x 12 เมตร
– พันธุ์ทรงพุ่มปานกลาง อาทิ พันธุ์ขันตี พันธุ์น้ำผึ้ง ใช้ระยะปลูกที่ 10 x 10 เมตร

การปลูก
การปลูกนั้น ควรปลูกในช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ต้นสามารถตั้งตัวได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องการให้น้ำ และการจัดการ

ขั้นตอนการปลูกนั้น เริ่มจาก หว่านโรยปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตราปุ๋ยคอกที่ 0.5-1 กิโลกรัม/หลุม ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ที่ 2 กำมือ/หลุม พร้อมโกนหน้าดินลงคลุกผสมเล็กน้อย นอกจากนั้น เกษตรกรบางรายยังใช้กาบมะพร้าววางทับไว้ก้นหลุมก่อนด้วย เพราะกาบมะพร้าวจะช่วยดูดซับไว้ได้ดี หลังจากนั้น นำต้นพันธุ์ลงปลูก พร้อมเกลี่ยดินกลบเพียงเสมอปากหลุม และนำฟางข้าวหรือใบไม้หรือเศษปุ๋ยหมักวางทับรอบโคนต้น แต่หากไม่มีไม่เป็นไร และใช้ไม้ไผ่ปักเป็นหลักลงด้านข้างลำต้น พร้อมรัดด้วยเชือกฟางกับต้นพันธุ์ไว้

ทั้งนี้ หลังการปลูก หากปลูกช่วงต้นฤดูฝนก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ เพราะดินมักชุ่มอยู่แล้ว เพียงรอฝนตกหลังปลูกก็เพียงพอให้ต้นตั้งตัวได้ ส่วนการลงต้นพันธุ์ในตอนปลูก หากดินในถุงหลอม ให้บีบถุงให้ดินในถุงอัดตัวกันดีก่อน จึงค่อยใช้ไกรกรรตัดถุงพลาสติกออก

การให้น้ำ
หลังจากปลูกเสร็จใหม่ หากไม่มีฝนตกนานหลายวัน ให้รดน้ำ3-5 วัน/ครั้ง แต่หากฝนตกสม่ำเสมอก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ และเมื่อต้นมีอายุตั้งแต่ 1 ปี ไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำแล้ว หรือ อาจให้เมื่อไม่มีฝนตกนาน ดินมีสภาพแห้งจัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในเดือนมีนาคม-เมษายน

สำหรับ แปลงที่มีต้นมะขามอายุ 3-5 ปี ที่เริ่มติดดอกแล้ว ในช่วงติดดอกนี้ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และต้องให้ในปริมาณเท่ากันตลอด ไม่ควรให้น้ำมาก เพราะดอกจะร่วงได้ง่าย และควรให้น้ำต่อเนื่องจนกว่าฝักมะขามจะเริ่มแก่ที่เห็นอวบ และฝักมีสีน้ำตาลแล้ว หลังจากนี้ ค่อยหยุดการให้น้ำโดยเด็ดขาด และหลังจากที่เก็บผลแล้ว ไม่ต้องให้น้ำ เพียงปล่อยให้ต้นมะขามผลิใบ และเมื่อเริ่มแตกใบใหม่ค่อยกลับมาให้น้ำอีกครั้ง

การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยมะขามหวานั้น ในช่วง 1-2 ปีแรกควรเน้นให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือวัสดุทางการเกษตร เช่น เศษใบไม้ เป็นต้น โดยให้ปีละ 3-5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม หรือ ประมาณ 1 ถังเล็ก/ต้น และอาจให้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยในสูตร 12-6-6 หรือสูตรอื่นที่มีไนโตรเจนสูง อัตราการให้ที่ 100-200 กรัม/ต้น แบ่งให้ 2 ครั้ง/ปี คือช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน

สำหรับแปลงที่ปลูกแล้ว 3-5 ปี ที่เริ่มติดผลเป็นครั้งแรก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-24 แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ในอัตราเท่าเดิม โดยให้ใส่ก่อนหรือในระยะออกดอก และอีกครั้งหลังจากที่เริ่มแตกใบใหม่ แต่อย่าลืมพร้อมใส่ปุ๋ยคอกหรือวัสดุอินทรีย์ร่วมด้วยในอัตราที่กล่าวมาแล้ว

การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งมะขามหวานนั้น จะเริ่มตัดตั้งแต่ปลูกไปแล้ว 6 เดือน และตัดแต่งกิ่งตลอดจนถึงปีที่เริ่มติดผลในครั้งแรก การตัดแต่งกิ่งนั้น มีวัตถุประสงค์หลายด้าน อาทิ เพื่อให้ลำต้นมีโครงสร้างใหญ่ เพื่อป้องกันโรคแมลง เพื่อให้ต้นติดดอกติดผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลำต้นแต่ละต้นมีระยะห่างที่เหมาะสม เป็นต้น

การตัดแต่งกิ่งนั้น จะเลือกตัดกิ่งขนาดเล็กออก และปล่อยกิ่งที่แข็งแรงไว้ แต่จะตัดทุกปลายกิ่งที่ยื่นยาวกว่าปกติ นอกจากนั้น จะเลือกตัดกิ่งที่กางออกในมุมแคบออก และปล่อยกิ่งที่กางในมุมกว้างไว้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา