ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกล้วยปากช่อง 50 อินทรียซ์

โดย : นายชาติชาย บุญคาร วันที่ : 2017-09-21-11:11:37

ที่อยู่ : 79

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กล้วยเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นแหล่งเรียรู้และเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ดิน

2.หน่อกล้วยปากช่อง 50

3.ปุ๋ยหมัก

อุปกรณ์ ->

1.จอบ/เสียม

2.ถังน้ำ

3.บุ้งกี๋

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      คัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีขนาดความสูง 15 ซม.ขึ้นไปหรือมีเส้นรอบวงต้นมากกว่า 3.5 ซม. หากต้นเล็กกว่านี้จะพบปัญหาเรื่องการดูแล  และอัตราการตายสูง

2.      เตรียมแปลงปลูกระยะ 3x3 หรือ 4x4 เมตร  ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 ซม. เพื่อให้ระบบรากเดินดี ขึ้นโคนช้า(โคนลอย)  ระยะปลูกขึ้นกับการดูแลรักษา  ถ้าดูแลดีกอกล้วยจะใหญ่ควรปลูกระยะ 4x4 เมตร หนึ่งกอควรไว้เพียง 4 ต้นเท่านั้น

3.      คลุกเคล้าปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กก.รองก้นหลุมขึ้นมาประมาณ 30 ซม. แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดินและควรลองก้นหลุมด้วยฟูราดานป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อหลุม

4.      ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง  ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา  ใบแห้งและยุบตัว  บางต้นตาย  บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน 

5.      ในระยะเดือนแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและดินต้องชุ่มชื้นเพียงพอ เป็นเดือนที่ต้องเอาใจใส่อย่างมาก  หากเป็นการให้น้ำแบบฝอย(มินิสปริงเกอร์) จะทำให้ต้นตั้งตัวได้เร็ว  สามารถสร้างใบและลำต้นใหม่ได้ดี  โอกาสรอดสูงกว่าการลากสายยางรดน้ำ  และเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม/ต้นหลังปลูก   ได้ 1 เดือน และ เดือนที่ 2 ส่วนเดือนที่ 3ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน

6.      เดือนที่ 2 และ 3 ต้นกล้วยจะมีต้นและใบใหม่ทั้งหมด ปัญหาคือหญ้าที่ขึ้นคลุมต้น  ต้องถากหญ้าบริเวณโคนต้น  และฉีดยาฆ่าหญ้ากลุ่มพาราควอต ระหว่างแถว  ต้องระวังอย่าให้ละอองยาโดนต้นกล้วยจะทำให้ต้นชะงักและตายได้

7.      เดือนที่ 4 .การเจริญเติบโตเร็วมาก ทั้งความสูงและรอบวงต้นใกล้เคียงปลูกจากหน่อพันธุ์(ขึ้นกับขนาดต้นปลูกเริ่มแรกถ้าสูง 15 ซม.ขึ้นไปจะโตทันกัน) เป็นเดือนที่ต้นรอดตายทั้งหมด  การดูแลทำเช่นเดียวกับการปลูกด้วยหน่อโดยให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม/ต้นในเดือนที่ 4 และ 5 เดือน ส่วนเดือนที่ 6 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน  และงดใส่ปุ๋ยจนกว่าจะแทงปลีถึงจะใส่ปุ๋ยเคมีอีกครั้งจนกระทั่งหลังเก็บเกี่ยว

8.      เดือนที่ 6 หรือ 7   กล้วยเริ่มแทงหน่อ  และสะสมอาหารเพื่อการตกเครือ

9.      เดือนที่ 9  กล้วยเริ่มแทงปลี  การแทงปลีหรือตกเครือจะเร็วหรือช้ากว่าหน่อพันธุ์  ขึ้นอยู่กับขนาดต้นปลูกเริ่มแรกและการดูแลรักษา  หากต้นพันธุ์ที่มีขนาดความสูง 15 ซม.ขึ้นไปหรือมีเส้นรอบวงต้นมากกว่า 4.0 ซม. การตกเครือใกล้เคียงกับหน่อพันธุ์ขนาด 1 เมตร  หากต้นมีขนาดใหญ่กว่านี้การตกเครือจะเร็วกว่าหน่อพันธุ์  และหากเล็กกว่านี้การตกเครือจะช้ากว่าหน่อพันธุ์  อายุเครือกล้วยจากแทงปลีจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมีอายุประมาณ 4 เดือนเท่าหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าทั่วไป

10.  การปลูกกล้วยจากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องเอาใจใส่ในช่วง 4 เดือนแรกให้ดีแล้วผลที่ออกมาจะคุ้มค่ากับการลงทุน และข้อดีของต้นกล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แก่   ขนย้ายต้นสะดวกได้ต้นจำนวนมาก  ต้นพันธุ์ปลอดจากโรค และแมลง  อายุการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกัน 

ข้อพึงระวัง ->

ระวังในการให้น้ำควรให้น้ำวันละ  1  ครั้ง อาจทำให้เกิดเชื้อรา

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา