ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอเสื่อกก

โดย : นางทองสูรย์ พรใส วันที่ : 2017-09-13-15:48:16

ที่อยู่ : 56 หมู่ที่ 13 ตำบลกุดชุม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอเสื่อเป็นงานหัตถกรรมประเภทเครื่องจักสาน เครื่องจักสานโดยทั่วไปจะหมายถึง สิ่งที่ผลิต ขึ้นด้วยมือ โดยวิธีจัก สาน ถักและทอเป็นหลัก เครื่องจักสานที่ท าขึ้นในถิ่นต่าง ๆ มีความจ าเป็นส าหรับการ ด ารงชีวิตในชนบท ถ้าจัดเสื่อตามหน้าที่การใช้สอย เสื่อเป็นเครื่องจักสาน ที่ใช้เป็นเครื่องเรือน และเครื่องปู ลาดหรือใช้ส าหรับปูนั่ง ปูนอนเป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้ยังที่ต้องการของตลาด สามารถวร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การทอเสื่อให้ผู้อื่นได้เป็นอาชีพเสริม  เพิ่มรายได้ในครัวเรือน 

2.  เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

3. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

4. เพื่อมีอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำเกษตรกรรม

5. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้นกก

ต้นใหล

ต้นผือนา

อุปกรณ์ ->

1.กรรไกร

2. กกหรือไหล

3. เชือกไนลอนหรือเชือกเอ็น

4. ฟืมทอเสื่อ 1 เมตร

5. โฮมทอเสื่อ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร

6. ไม้สอดกก

7. สียอมกก

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการยอมสีกก

1.ต้มน้ำให้ร้อนและผสมสีลงไป

2.นำต้นกกที่เตรียมเอามาลงต้มให้สีเข้ากับเนื้อกก

3.เอาขึ้นมาตากให้แห้ง

4.ตากให้แห้งแล้ว(สามารถเอามาทอได้)

ขั้นตอนการทำ

1. นำกกหรือไหลมากรีดออกเป็นเส้นไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์ 2. เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีน้ำตาลและสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน 3. นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม 4. นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ 5. เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ 6. ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมดา ลายกระจับ 7. จากนั้นก็นำเสื่อกกที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น หมอน อาสนะ หนอนทอฟฟี่(หมอนข้าง) เสื่อพับ ที่รองแก้ว หมอนสามเหลี่ยม ฯลฯ

วิธีการทอสื่อ

เลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจามริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ พรมนำใส่กกที่จะทอ

 ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะใส่ถุงพลาสติกเพื่อให้กกนิ่มและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา