ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไส้เดือน African Night Crawler

โดย : นายวีระพงศ์ ศรีวะะสุทธิ์ วันที่ : 2017-09-13-15:21:33

ที่อยู่ : 107 หมู่ที่ 11 ตำบลกุดชุม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เริ่มจากที่ช่วยพลิกดินนําดินด้านล่างขึ้นมาด้านบน เพื่อคลุกเคล้าแร่ธาตุในดิน นําไปใช้ประโยชน์ต่อไปช่วยย่อย สลายสารอินทรีย์ในดิน ซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุต่าง ช่วยเพิ่มและแพร่กระจายจุลินทรีย์ในดินที่มี ประโยชน์ต่อพืช เช่น ไรโซเบียม ในบริเวณรากพืช ทําให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทน้ําและอากาศดีทําให้ดินอุ้มน้ํา ได้ดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดินทําให้รากพืชชอนไชได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ให้สมดุล

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ขุยมะพร้าว มูลวัว หรือดินร่วน 8 กิโลกรัม

อุปกรณ์ ->

1. ไส้เดือนดินสายพันธุ์ African Night Crawler 1 กิโลกรัม

2. กะละมังพลาสติกทึบแสงสีดํา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2 ฟุต

3. อาหารสําหรับใช้เลี้ยงไส้เดือนดิน รํา,ข้าวสุก

4. กระบอกฉีดน้ํา 6. ตะกร้าพลาสติกใช้สําหรับคัดแยกไส้เดือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. นําภาชนะที่จะใช้เพาะเลี้ยงไส้เดือน คือ กะละมังพลาสติกมาเตรียมไว้

2. การเตรียมที่อยู่ไส้เดือนดิน หรือการเตรียมส่วนผสมเพื่อใช้รองพื้นสําหรับเลี้ยงไส้เดือนดินนั้น ประกอบด้วย มูลวัว ขุยมะพร้าว หรือดินร่วน สามารถเลือกใช้ได้ตามปัจจัยที่เรามีอยู่ โดยในที่นี้ใช้กะละมัง พลาสติก และต้องทําการบดวัสดุให้ละเอียดและเข้ากันเพื่อการเจริญเติบโตของไส้เดือน

3. นําส่วนผสมเพื่อใช้รองพื้นสําหรับเลี้ยงไส้เดือนมาผสมตามอัตราส่วนให้เข้ากัน โดยใช้อัตราส่วนขี้ วัว/มูลสัตว์จํานวน 8 กิโลกรัม และรดน้ําพอชุ่ม แต่ถ้านําดินร่วน ที่ผสมแล้วใส่ภาชนะที่จะเลี้ยงสูงประมาณ 3-5 นิ้ว (ตามความเหมาะสมของภาชนะ) ตั้งทิ้งไว้ ในที่ร่มก่อน ประมาณ 20 วัน เพื่อลดความเป็นกรดของดินให้เหมาะสม

4. นําไส้เดือนดินสายพันธุ์ African Night Crawler จํานวน 1 กิโลกรัม นําลงไปเลี้ยงในภาชนะที่ เตรียมเพาะเลี้ยง จึงได้มาเป็นสูตรอัตราส่วน 8:1 ขี้วัว/มูลสัตว์:ไส้เดือนดิน

5. ทําการเพาะเลี้ยงไส้เดือนในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดดและได้รับความร้อน และหมั่นตรวจเช็คบริเวณผิว ดิน หากแห้งเกินไปต้องใช้กระบอกฉีดน้ําพรมผิวดินให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อการดํารงชีวิตของไส้เดือน

6. การให้อาหารไส้เดือนดิน โดยเราใช้รํากับข้าวสุก ควรให้อาหารทีละน้อย และใช้วิธีขุดหลุมฝังเศษ อาหารโดยเวียนเป็นวงกลม ดังนั้น จึงต้องทําสัญลักษณ์ไว้ว่าฝังเศษอาหารลงตรงไหนไปแล้ว เพราะไส้เดือน จะปล่อยเมือกใส่อาหาร เพื่อให้กรดอะมิโนที่หลั่งออกมากับเมือกของไส้เดือนย่อยเศษอาหาร โดยใช้เวลา ประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงค่อยกินอาหารดังกล่าว

7. ทําการเลี้ยงไส้เดือนดินไปเรื่อยๆ หลังจากเลี้ยงไส้เดือนจน bedding ประมาณ 1 เดือน ให้คัด แยกพ่อแม่ออกจากไข่ เพื่อทําการ bedding ใหม่ให้แก่ไส้เดือน ไม่เช่นนั้น อาจตายได้ วิธีการแยก นําตะกร้าพลาสติกตักใส่เดือนขึ้นมา และทําการร่อนจนวัสดุแยกออกจากตัวไส้เดือน นําไปแยกใส่ในกะละมังใหม่เพื่อการเจริญเติบโตในรุ่นต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

ศัตรูของไส้เดือนดิน เช่น ไรแดง มด หนูนก กบ กิ้งกือ ตะเข็บ หอย งูตัวอ่อนแมลงปีกแข็ง จิ้งจก ตุ๊กแก แมงกระชอน จิ้งหรีด ดังนั้น ในการเลี้ยงจึงจําเป็นต้องมีตาข่ายป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ เข้าไปกินไส้เดือน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา