ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นางลัดดา มาตขาว วันที่ : 2017-09-12-17:03:46

ที่อยู่ : 110 หมู่ที่ 5 ตำบลกุดชุม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

วัตถุประสงค์ ->

พื่อเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารไก่ 

พืชผัก

อุปกรณ์ ->

รางอาหาร

รางน้ำ

ตาข่าย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1)การให้อาหาร ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่ การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหารและควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต  ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น

2) การให้น้ำ น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

3) โรงเรือนไก่ แบบของโรงเรือนควรเป็นแบบที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก ราคาค่อนข้างต่ำ เพราะทำจากวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว ระบายอากาศร้อนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก กันลมโกรก และกันฝนสาดได้ดี อากาศในโรงเรือนควรเย็นสบาย ไม่อับชื้น ทำความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง สะดวกต่อการเข้าไปปฏิบัติดูแลไก่ ต้องหมั่นตรวจดูรังฟักอยู่เสมอว่ามีตัวหมัด เหา ไร หรือไม่ หากมีให้เผาไฟเสียป้องกันไม่ให้มันแพร่พันธุ์ต่อไป เพราะไรเป็นศัตรูสำคัญในการบั่นทอนสุขภาพของไก่ หากมีเหา ไรเหลืออยู่ในรัง เมื่อลูกไก่กะเทาะเปลือกออกมา จะถูกตัวเหา ไรกัดกินเลือด ทำให้ลูกไก่เสียสุขภาพไปตั้งแต่ยังเล็กๆ

4) การทำวัคซีนป้องกันโรคตามอายุไก่ เช่น นิวคาสเซิล ฝีดาษ อหิวาต์ โดยให้ถูกต้องทั้งชนิดของวัคซีน ความรุนแรงของเชื้อ และวิธีการทำวัคซีน  นอกจากนี้ควรมีการถ่ายพยาธิกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และควรกำจัดหรือทำลายต้นตอของพยาธิภายนอก เช่น หมัด ไร เห็บ ฯลฯ ทุกครั้งที่พบ

ข้อพึงระวัง ->

1.ปัญหาด้านผลผลิตต่ำ มีสาเหตุมาจาก ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์พ่อแม่ ปล่อยให้ผสมเองตามธรรมชาติ สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่ดีต่อเนื่องการผสมแบบเลือดชิด คือ ผสมระหว่างพ่อแม่กับลูก หรือพี่กับน้อง เป็นต้น มีผลให้สมรรถภาพการผลิตและการสืบพันธุ์ของไก่รุ่นถัดมาต่ำลง ใช้พ่อไก่คุมฝูงนานเกินไป ก่อให้เกิดอัตราการผสมแบบเลือดชิดเร็วยิ่งขึ้น และคุณภาพของน้ำเชื้อพ่อไก่เลวลง จำนวนลูกไก่ที่เกิดจึงมีน้อย  ใช้แม่ไก่ทำพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย และปล่อยให้ขยายพันธุ์นานเกินไป อัตราการไข่และการฟักออกเป็นตัวในช่วงหน้าร้อนต่ำมาก ผู้เลี้ยงมิได้ให้ความสนใจและจัดการดูแลเพิ่มเติม  ไม่มีการให้อาหารเสริม โดยเฉพาะช่วงแม่ไก่ก่อนออกไข่ และลูกไก่ระยะแรก จึงเกิดความสูญเสียกับลูกไก่จำนวนมาก แม่ไก่เลี้ยงลูกนานเกินไป ทำให้ได้จำนวนรุ่นของลูกไก่ต่อปีน้อย

2.ปัญหาด้านอัตราการตาย มีสาเหตุมาจากไก่เจริญเติบโตดี แต่ยังมีการตายเกิดขึ้น อาจเนื่องจากไม่มีการทำวัคซีนทำวัคซีนไม่ต่อเนื่องชนิดของวัคซีนไม่เหมาะกับอายุไก่ ทำวัคซีนไม่ถูกเวลา ตัวไก่ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ในช่วงไก่อ่อนแอ หรือขาดอาหาร เป็นต้น เก็บรักษาวัคซีนไม่ดี ทำให้เสื่อมคุณภาพ หรือวัคซีนหมดอายุ ไม่มีการให้ยาหรือสุขาภิบาลไก่เริ่มป่วย

3.ไก่มีการเจริญเติบโตไม่ดี แคระแกร็น และตายในที่สุด อาจมีสาเหตุจากอาหารตามธรรมชาติขาดแคลน และไม่มีการให้อาหารเสริมมีตัวเบียนรบกวน ทั้งภายในและภายนอก ผลจากการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา