ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายไมตรี ลุยสูงยาง วันที่ : 2017-08-24-14:52:20

ที่อยู่ : 183 หมู่ 4 ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีความต้องการที่จะเลี้ยงปลาดุกเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเอง ครอบครัว และเคยมีประสบการณ์เลี้ยงปลาดุกมาก่อน และอยากขยายผลให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้เหมือนตนเอง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้ต้องหารายได้เสริม จึงคิดหาวิธีการโดยการทำอย่างไรให้มีรายได้เพิ่มเข้ามาในครัวเรือน จึงแนะนำและนำเอาเหตุผลมาคุยกับครัวเรือนเป้าหมาย ดังกล่าว 

ปลาดุกเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว และอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้น ในปัจจุบัน การเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ้กอุย"ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย (ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ้งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็วและต้านทานโรคได้ดี ลักษณะทั่วไปของปลาดุก คือ เป็นปลาไม่มีเกล็ด ตัวยาวเรียว ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง มีอวัยวะช่วยในการหายใจ ซึ่งช่วยให้ปลาดุกมีความอดทนสามารถในสภาพน้ำ ที่ไม่เหมาะสม หรืออยู่พ้นน้ำได้นาน ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่ออาจให้อาหารจำพวกพืช และสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำได้

วัตถุประสงค์ ->

มีความต้องการที่จะเลี้ยงปลาดุกเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเอง ครอบครัว และเคยมีประสบการณ์เลี้ยงปลาดุกมาก่อน และอยากขยายผลให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้เหมือนตนเอง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้ต้องหารายได้เสริม จึงคิดหาวิธีการโดยการทำอย่างไรให้มีรายได้เพิ่มเข้ามาในครัวเรือน จึงแนะนำและนำเอาเหตุผลมาคุยกับครัวเรือนเป้าหมาย ดังกล่าว 

ปลาดุกเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว และอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้น ในปัจจุบัน การเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ้กอุย"ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย (ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ้งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็วและต้านทานโรคได้ดี ลักษณะทั่วไปของปลาดุก คือ เป็นปลาไม่มีเกล็ด ตัวยาวเรียว ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง มีอวัยวะช่วยในการหายใจ ซึ่งช่วยให้ปลาดุกมีความอดทนสามารถในสภาพน้ำ ที่ไม่เหมาะสม หรืออยู่พ้นน้ำได้นาน ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่ออาจให้อาหารจำพวกพืช และสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้

1. บ่อใหม่ - ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ- ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่วบ่อ- เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

2. บ่อเก่า - ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่ส- ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่- ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน- นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ- เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียวก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5-8.5

การเตรียมพันธ์ปลา การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

 1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก- ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ- มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ- มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา

2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก- การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ- ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ- ขนาดลูกปลาต้องเสมอกันการปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค

อุปกรณ์ ->

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้

1. บ่อใหม่ - ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ- ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่วบ่อ- เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

2. บ่อเก่า - ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่ส- ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่- ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน- นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ- เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียวก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5-8.5

การเตรียมพันธ์ปลา การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

 1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก- ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ- มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ- มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา

2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก- การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ- ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ- ขนาดลูกปลาต้องเสมอกันการปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการดำเนินงาน- จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจ หน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของ ทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

 - ทบทวนและจัดทำ แผนปฏิบัติการฝึกอบรม อาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน

- ทีมวิทยากร สัมมาชีพชุมชน ระดับหมู่บ้านร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลความ ต้องการอาชีพจาก แบบความต้องการ ฝึกอาชีพของคนใน ชุมชนที่ได้สำรวจไว้ แล้ว โดยจัดกลุ่ม ความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้ เชื่อมโยงกับตลาด สร้างผลผลิต สร้าง ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ ระบบ OTOP

 – จัดเตรียมพื้นที่ ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพ ชุมชน

โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.จัดทำกระชังปลาตามขนาดที่ต้องการ และเอากระชังไปแช่ในน้ำในสถานที่ที่จะเลี้ยง ประมาณ 1 สัปดาห์

2.ซื้อพันธุ์ปลาดุก เลือกลูกปลาพันธุ์บิ๊กอุย เพราะทนต่อโรค เลี้ยงง่าย

3.นำลูกพันธุ์ปลาไปเลี้ยงในกระชัง ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม ประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน

4.เลี้ยงปลาอายุ 1-6 เดือน ก็สามารถนำไปขายได้

ข้อพึงระวัง ->

ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้น บ่อ

                 - ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่ว บ่อ

                 - เติมน้ำ ให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้ง ไว้ 1-2 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

1.ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที เพื่อ

- ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด

- ปลาไม่ป่วย - การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน

- อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย

2. ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

3.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี

4. น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลา สามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา