ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อ

โดย : นางสาวมาลัยพร แสนสุข วันที่ : 2017-08-24-14:46:57

ที่อยู่ : 55 หมู่ที่ 1 ต.คำน้ำสร้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีความต้องการที่จะเลี้ยงปลาดุกเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเอง ครอบครัว และเคยมีประสบการณ์เลี้ยงปลาดุกมาก่อน และอยากขยายผลให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้เหมือนตนเอง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้ต้องหารายได้เสริม จึงคิดหาวิธีการโดยการทำอย่างไรให้มีรายได้เพิ่มเข้ามาในครัวเรือน จึงแนะนำและนำเอาเหตุผลมาคุยกับครัวเรือนเป้าหมาย ดังกล่าว 

ปลาดุกเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว และอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้น ในปัจจุบัน การเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ้กอุย"ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย (ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ้งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็วและต้านทานโรคได้ดี ลักษณะทั่วไปของปลาดุก คือ เป็นปลาไม่มีเกล็ด ตัวยาวเรียว ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง มีอวัยวะช่วยในการหายใจ ซึ่งช่วยให้ปลาดุกมีความอดทนสามารถในสภาพน้ำ ที่ไม่เหมาะสม หรืออยู่พ้นน้ำได้นาน ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่ออาจให้อาหารจำพวกพืช และสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำได้

วัตถุประสงค์ ->

1.เกิดจากความภาคภูมิใจที่สามารถเลี้ยงปลาดุกจนประสบความสำเร็จ ขาย เลี้ยงชีพให้แก่ตนเองและครอบครัว และสามารถเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกแก่คนในชุมชนและบุคคลที่สนใจได้

2.ครัวเรือนสัมมาชีพ และปราชญ์สัมมาชีพให้ความสนใจ และอยากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสัมมาชีพเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ตนเอง

3.ผู้นำในชุมชนให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ การประสานงาน

4.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ให้ความรู้ ความเข้าใจ และคอยเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพในหมู่บ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการดำเนินงาน- จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจ หน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของ ทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

 - ทบทวนและจัดทำ แผนปฏิบัติการฝึกอบรม อาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน

- ทีมวิทยากร สัมมาชีพชุมชน ระดับหมู่บ้านร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลความ ต้องการอาชีพจาก แบบความต้องการ ฝึกอาชีพของคนใน ชุมชนที่ได้สำรวจไว้ แล้ว โดยจัดกลุ่ม ความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้ เชื่อมโยงกับตลาด

 – จัดเตรียมพื้นที่ ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพ ชุมชน

โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.จัดทำกระชังปลาตามขนาดที่ต้องการ และเอากระชังไปแช่ในน้ำในสถานที่ที่จะเลี้ยง ประมาณ 1 สัปดาห์

2.ซื้อพันธุ์ปลาดุก เลือกลูกปลาพันธุ์บิ๊กอุย เพราะทนต่อโรค เลี้ยงง่าย

3.นำลูกพันธุ์ปลาไปเลี้ยงในกระชัง ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม ประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน

4.เลี้ยงปลาอายุ 1-6 เดือน ก็สามารถนำไปขายได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา