ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำข้าวเกรียบว่าว(ข้าวโป่งโบราณ)

โดย : นางสุทิน ทิพมาลา วันที่ : 2017-08-20-14:40:44

ที่อยู่ : 82 หมู่ที่ 4 บ้านโสกผักหวาน ตำบลดู่ลาด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เกิดจากการรวมกลุ่มของสตรีทำขนมไว้กินเองและในเทศกาลงานบุญของหมู่บ้าน และอยากมาทำเป็นอาชีพเสริมหลังจากว่างงานในการทำนาเพื่อจำหน่ายในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำขนมของโบราณเอาไว้ และยังเป็นการสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ข้าวเหนียวอย่างดี

2.น้ำมันพืช

3.ไข่แดงต้มสุก

4.กะทิ

5.น้ำตาล

6.เกลือ

7.งา

อุปกรณ์ ->

1.มวยนึ่งข้าว

2.ครกมอง

3.เหล็กปิ้ง/ไม้ปิ้ง ข้าวโป่ง

4.ไม้พิมพ์ใช้สำหรับทับก้อนข้าวเหนียวที่ปันเป็นก้อนกลม ๆ ให้แบนออกเป็นแผ่นบาง

5.ผ้าตาข่ายเขียว สำหรับตากข้าวโป่งให้แห้งสนิท หรือสานไม้ไผ่เป็นที่ตาก

6.แผ่นพลาสติก ใช้สำหรับรองข้าวเหนียวที่จะนำมาทับด้วยไม้พิมพ์เพื่อไม่ให้ข้าวสัมผัสกับไม้พิมพ์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.แช่ข้าวสารเหนียวในน้ำอย่างน้อย 12 ชั่วโมง จากนั้นนำข้าวเหนียวไปนึ่งให้สุก

2.นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ ไปตำให้ละเอียดโดยใช้ครกมองหรือครกกระเดื่อง การตำข้าวถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดจะต้องได้ข้าวที่ละเอียดจริง ถ้าไม่ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันข้าวโปร่งที่ได้ออกมาจะไม่สวย ไม่พอง เมื่อข้าวเหนียวติดตัวกันดีแล้ว สามารถนำส่วนผสมอื่นลงไปได้เช่น น้ำใบเตย น้ำดอกอัญชัญ เกลือ น้ำตาลทราย งา น้ำกะทิสด ใ่ลงไปตำให้แหลกจนเหนียวเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ติดมือ

3.การทำเป็นเป็นแผ่นบาง ๆ นำข้าวเหนียวที่ตำละเอียดแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเหมาะสมเท่ากับขนาดของแผ่นข้าวเกรียบว่าวที่ต้องการ โดยก่อนปั้นจะต้องทามือและแผ่นพลาสติกด้วยน้ำมันพืชผสมกับไข่แดงต้มสุก เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวติดมือและแผ่นพลาสติกปั้นข้าวเป็นก้อนกลม ๆ และใช้ไม่พิมพ์ทับให้เป็นแผ่นข้าวโป่ง ซึ่งมีหลายขนาด เล็ก กลาง ใหญ่

4.การตากแห้ง ลอกแผ่นข้าวเหนียวจากแผ่นพลาสติก นำไปวางไว้บนเสื่อหรือตาข่าวที่ขึงกับไม้ยาวถ้าหากแดดดี ๆ จะตากไว้ 1 วัน ถ้าแดดไม่มีอาจผึ่งไว้ 2 วัน ในระหว่างที่ผึ่งแดดต้องพลิกให้โดนแดดทั้งสองข้าวเพื่อให้แห้งเร็วขึ้น เมื่อแห้งสนิทนำมาบรรจุในพลาสติก เก็บไว้ได้นานประมาณ 3 เดือน

5.การปิ้งข้าวโป่ง ก่อนจะนำมารับประทานต้องปิ้งไฟก่อน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ หมั่นกลับไปกลับมาให้สุกทั่วกันทั้งสองข้าง แผ่นข้าวโป่งจะยืดออก พองกรอบ การปิ้งจะใช้ไม้ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ ทำด้วยไม้ไผ่ 2 อัน และตอนปลายไม้ผ่าเป็นซีก ๆ ไม้ข้าวจี่และเรียกการจี่ข้าวโป่งว่า จี่ เกรียบ โดยนิยมใช้เตาถ่านในการปิ้ง การปิ้งควรพลิกข้าวเกรียบไปมาให้ได้รับความร้อนเท่ากัน การพลิกต้องทำอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยใช้ไม้จี่ในการคอยรับและพลิกแผ่นข้าวเกรียบเพื่อให้แผ่นข้าวเกรียบสุกพองเสมอกัน

ข้อพึงระวัง ->

การตากควรตากในที่ร่ม อย่าให้โดนแสงแดดจ้า ข้าวโป่งจะกรอบ การรับประทานควรทานตอนข้าวโป่งสุกใหม่ ๆ จะกรอบมาก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา