ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงโคขุน

โดย : นายศรีทัศ มงคลทอง วันที่ : 2017-08-09-13:52:17

ที่อยู่ : หมู่ที่ 16 ตำบลห้องแซง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงโค เป็นอาชีพเสริม ที่ทำรายได้ให้กับครอบครัว อาจต้องเสียเวลาในการเลี้ยงดูอยู่บ้าง แต่ผลที่ได้รับคุ้มค่าอย่างมาก

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเลี้ยงไว้ขาย และนำมูลมาใช้ในการเกษตร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารโคขุน


แร่ธาตุ

อุปกรณ์ ->

 

 

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิคการขุนโค
ระยะแรก
เป็นช่วงเริ่มขุนให้ใช้อาหารข้นตามสูตรที่กล่าวมาแล้ว วันละ 2 ครั้ง

ระยะที่สอง
เป็นช่วงก่อนเดือนสุดท้ายของการขุน 1 เดือนให้เพิ่มการให้อาหารข้นเป็น วันละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งให้น้อยกว่าระยะแรกตัวละครึ่งกิโลกรัม

ระยะสุดท้าย
คือเดือนสุดท้ายของการขุนให้เปลี่ยนแปลงสูตรโดยการเพิ่มปริมาณมันเส้นเพื่อให้โคอ้วนเร็วขึ้นดังนี้
สัปดาห์ที่ 1 : เพิ่มมันเส้น 2.5 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม
สัปดาห์ที่ 2 : เพิ่มมันเส้น 5.0 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม
สัปดาห์ที่ 3 : เพิ่มมันเส้น 7.5 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม
สัปดาห์ที่ 4 : เพิ่มมันเส้น 10 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม

ในเดือนสุดท้าย ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช่นเดียวกับระยะที่สองคือให้น้อยกว่าปกติครึ่งกิโลกรัมเป็นการเร่งให้โคขุน มีความสม่ำเสมอในการกระจายไขมันพอกตัว ทำให้เนื้อที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ เมื่อตัดแต่งขายจะได้ราคาดีมากกว่าโคขุนที่มีการกระจายไขมันที่ไม่สม่ำเสมอ

ลักษณะโคเมื่อพร้อมส่งตลาด
การเจริญเติบโตจากเริ่มขุนกระทั่งส่งตลาด มี 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1
เป็นการเพิ่มการเจริญเติบโตของกระดูก ทำให้มีโครงร่างใหญ่พร้อมรับเนื้อ และมันที่จะสะสมในการขุนระยะต่อไป โครงร่างที่ใหญ่จะใช้เวลาในการสะสมเนื้อและไขมันนานกว่าโคที่มีโครงร่างเล็ก กว่า

ระยะที่ 2
เป็นการสะสมกล้ามเนื้อทั่วร่างกายที่สำคัญ คือ สันในสันนอก หัวไหล่ สะโพก หากพบว่าโคตัวใดขุนมาถึงระยะนี้คือประมาณ 3 เดือน แล้วโคยังมีลักษณะไม่เหมาะสมควรตัดออกขายเป็นโคมัน ไม่ควรเก็บไว้ขุนต่อเพราะจะไม่มีกำไรลักษณะไม่เหมาะสมดังกล่าว มี 2 ประการคือ
– ผอม แสดงว่าโคพันธุ์ไม่ดี เลี้ยงไม่โต อาจเนื่องมาจากเป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่เกินไปหรือไม่ก็โคลักษณะไม่ดี
– อ้วนกลม แสดงว่าโคมีโครงร่างเล็กเกินไป เลี้ยงเพียง 4 เดือนก็กลมเสียแล้วทำให้น้ำหนักส่งตลาดต่ำเกินไป ได้ราคาไม่ดีเท่ากับโคโครงร่างใหญ่

ระยะที่ 3
เป็นการสะสมไขมันได้แก่ ไขมันหุ้มตัว และไขมันแทรกกล้ามเนื้อที่พร้อมส่งตลาดจะมีความกลมจนเห็นได้ชัด โดยเฉพาะบริเวณสะโพกและโคนหาง จะปรากฏมีก้อนไขมัน 2 ก้อนอยู่ข้างโคนหาง สวาปไม่บุ๋ม เนื้อแน่น หาดปล่อยเกินระยะนี้ไป โคจะกินแต่อาหารแต่จะไม่โต และเนื้อจะยุบไม่เต่งตึง ควรรีบจับขายทันที โคขุนที่ดี ควรมีไขมัน(ไขมันหุ้มสันนอก)ที่วัดจากกลางหลังหนาไม่ต่ำกว่า 1.5 เซนติเมตร

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา