ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายพรชัย ขันเงิน วันที่ : 2017-06-26-13:38:29

ที่อยู่ : 85 หมู่ 6 ตำบลสิงห์ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน  มีการใช้สารเคมีในการปลูกผัก ผลไม้  ทำให้ผู้บริโภค  ลูกหลาน หรือตัวเองต้องได้รับสารพิษจากปุ๋ย  ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในการปลูกพืชทั้งจากการบริโภคโดยตรง หรือทางอากาศ ฝุ่นละออง  ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ  ลดการใช้สารเคมี หันมาใช้อินทรีย์ในการเพาะปลูก จึงได้เป็นแรงบันดาลใจในการรวมกลุ่มเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เพื่อเกษตรในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1.      เพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูก

2.      เพื่อลดการใช้สารเคมี  

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      กากน้ำตาล   

2.      น้ำสะอาด   

3.      ผัก ผลไม้  สัตว์สด  หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง

4.      EM

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะหรือปูนซิเมนต์เพราะน้ำหมักจะเข้าไปกัดกร่อนภาชนะ

2. น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาทิ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ฯลฯ โดยเฉพาะกากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล นอกจากนี้อาจใช้พืชจำพวกอ้อยได้เช่นกัน

3. ส่วนผสมกับน้ำตาล

- เศษซากพืชสด อาทิ พืชอวบน้ำอวบน้ำ ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้ ฯลฯ

- เศษซากสัตว์สด อาทิ หอยเชอรี่ ปลา ปู ฯลฯ

- พืชสุมนไพรเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ สะเดา ไหลแดง หนอนตายอยาก ตะไคร้หอม ฯลฯ

ข้อพึงระวัง :

โดยทั่วไปส่วนผสมของการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ถ้าใช้สูตรที่เป็นเป็นเศษซากพืช จะใช้ส่วนผสมระหว่างเศษซากพืชสดกับกากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1

แต่หากเป็นเศษซากสัตว์ จะใช้อัตราส่วนระหว่างเศษซากสัตว์กับกากน้ำตาล อัตราส่วน 1 : 1

ข้อพึงระวัง ->

หนอนที่เกิดในภาชนะน้ำหมักเกิดจากไข่แมลงวัน  หนอนจะไม่เป็นแมลง  เมื่อโตเต็มที่จะตายไปเอง 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา