ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผัก

โดย : นางจินดา กว้างขวาง วันที่ : 2017-06-01-10:01:33

ที่อยู่ : 19 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหนองเรือ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองเรือ ชาวบ้านบางส่วนทำงานในตัวจังหวัดยโสธร  ชาวบ้านส่วนใหญ่ซื้ออาหาร ผักผลไม้จากรถจำหน่าย(รถพุ่มพวง)  ซึ่งมีบริการถึงภายในหมู่บ้าน  ปราชญ์ชุมชน  จึงได้ขยายความรู้ด้านการปลูกผัก  ไว้ใช้รับประทานเอง  เพื่อความปลอดภัย  ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ชาวบ้านจึงรวมตัวกันอยากปลูกผักไว้รับประทานเอง  เหลือเอาไว้จำหน่ายเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบสัมมาชีพ

          2. อาชีพเสริม เพิ่มรายได้หลังจากทำนา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธ์ผัก

          ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี

          ท่อน้ำ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

     

ข้อพึงระวัง ->

1.การเลือกเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ผักที่นิยมปลูกกันเนื่องจากปลูกง่าย หาซื้อง่ายตามท้องตลาดทั่วไปและเจริญงอกงามดี ได้แก่พันธุ์ เมล็ดผัก

          2. การเตรียมดินเพื่อปลูกผัก การปลูกผักสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกในแปลงดิน การปลูกในกระถางเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการปลูกรับประทานเอง และการปลูกในแปลงดินเป็นการปลูกเพื่อจำหน่าย สำหรับท่านที่ต้องการปลูกในแปลงดินควรขุดดินหรือพรวนดินขึ้นมาตากแดดไว้ก่อนสัก5-7วัน แล้วทำการพรวนดิน เพื่อให้ดินมีความร่วนและทำการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสดคลุกเคล้ากับแปลงดิน

                   3. เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ผักมาแล้ว ให้ทำการบดเมล็ดผักให้แตกออกเป็น2ส่วนก่อน สำหรับผักชี(สำคัญมาก) แล้วจึงนำไปแช่น้ำ 1-3วัน (แนะนำ การแช่น้ำควรนำผ้ามาห่อไว้ แล้วหาอะไรกดทับให้มิดจมน้ำไปเลย) การบดเมล็ดผักจะทำให้ผักเจริญเติบโตง่ายและเร็วขึ้น ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ผักที่จะนำมาปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์ผักที่ใหม่เพราะเมล็ดพันธุ์ผักเก่าที่เป็นราปลูกยังไงก็ไม่ขึ้น

                   4. เมื่อแช่เมล็ดพันธุ์ผักแล้ว นำไปผึ่งลม เมื่อเมล็ดพันธุ์ผักเริ่มงอกก็นำไปหว่าน

                   5. ก่อนการนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่านควรรถน้ำให้ซุ่มแปลงดิน แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่าน และคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความซุ่มชื่นของแปลงดิน

                   6. การรดน้ำและการกำจัดวัชพืช ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้นควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ2ครั้ง แต่อย่ารถน้ำมากเกินไป เพราะผักชีไม่ชอบน้ำที่ขัง จะทำให้ผักชีเน่าง่าย ส่วนการกำจัดวัชพืชควรกำจัดอย่างทันที โดยใช้มือถอนได้เลย เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งน้ำจากผักชีทำให้ผักไปไม่เจริบเติบโต

                   7. การใส่ปุ๋ยให้ผักชีหลังจากแตกใบแล้วแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมัก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา