ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงปลาดุก

โดย : นายเครื่อง นิรบุตร วันที่ : 2017-05-05-14:04:30

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 14 หมู่ 4 บ้านหนองคู ตำบลหนองคู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดที่มีอยู่ตามแหล่งน้ำจืด ห้วย หนอง ทั่วไป ซึ่งประชาชนภายในหมู่บ้านนิยมนำมาประกอบอาหาร และมีคุณค่าทางโปรตีนสูง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานและราคาไม่แพง แต่การจับปลาดุกในธรรมชาติทั่วไปเพื่อจำหน่ายมีความยุ่งยากและไม่เพียงพอต่อการนำมาจำหน่ายหรือบริโภคในชุมชน ดังนั้นการเลี้ยงปลาดุกจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรเพื่อเพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพ และการเลี้ยงปลาดุกนั้นมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ใช้พื้นที่ไม่กว้างมาก โตไวและการลงทุนในการไม่สูง สามารถเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์ บ่อพลาสติกหรือบ่อดินได้ และเป็นอาชีพเสริมที่สามารถนำไปขายเพื่อนำรายได้เข้าสู่ครอบครัวได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่นปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนม ปังเศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือด ไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้ นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน 

อุปกรณ์ ->

 การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. บ่อ จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
2. ปูนขาว ใส่เพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 – 100 กก./ไร่
3. ปุ๋ยคอก ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาในอัตราประมาณ 40 – 80 กก./ไร่4. น้ำ ต้องกรองน้ำก่อนเข้าบ่อไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนมีระดับน้ำลึก 30 – 40 ซม. หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลา และเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลา หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อนโดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ:

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา