ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสาน

โดย : นางบรรจง ศรีธรรม วันที่ : 2017-04-21-09:23:15

ที่อยู่ : 21 หมู่ 7 ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 

          เดิมประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่บริโภคข้าวเหนียว  ชาวบ้านในแถบนี้มีภูมิปัญญาในด้านการจักสาน  เช่นสานกระติบข้าว เพื่อใช้เป็นภาชนะใส่ข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน กระด้งใช้ฝัดข้าว ไม่มีการซื้อ - ขายกันมากนัก  ในช่วงต่อมาเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น  ผู้คนมีงานทำ มีรายได้มากขึ้น  มักจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาสั่งซื้อให้ผลิตกระติบข้าว  ในปี พ.ศ. 2535  จึงเกิดการรวมตัวกันของสตรีขึ้น  ตั้งชื่อว่า “กลุ่มสตรีจักสานบ้านดอนกลอง”  มีสมาชิกทั้งหมด ๑๔๔ คน  รวมตัวกันผลิตกระติบข้าว  โดยได้รับการส่งเสริมจากส่วนราชการในพื้นที่  หลังจากนั้นกลุ่มสตรีดังกล่าว  ได้มีการขยายกิจการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ สีสัน ให้ถูกใจผู้บริโภค จนเป็นที่ยอมรับของตลาด  เข้าลงทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  และส่งสินค้าเข้าคัดสรรผลิตภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๓๕,๒๕๔๙  ได้ระดับ ๓,๔ ดาว  จึงเกิดการจำหน่ายภายในศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน และตลาดกว้างขวางขึ้น แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเดิมเป็นโคมไฟ, ตะกร้าอเนกประสงค์,แจกัน, มวยนึ่งข้าวปิกนิค และกลุ่มร่วมกับเครือข่าย OTOP จังหวัดยโสธร ส่วนราชการ แสดงและจำหน่ายสินค้าทั้งภายในจังหวัด

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

1. มีด   ๒. เอ็น  ๓. เส้นด้าย  ๔. หวาย  ๕. ก้านตาล 6. กบขุดตอก

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

กระติบข้าว  เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่ที่มีภูมิปัญญาด้านการจักสาน มารวมกัน สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการปรับปรุงแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายตามความต้องการของตลาด  ทำให้เกิดอาชีพ และรายได้  คนมีงานทำ  ไม่ไปทำงานที่อื่น   ทุกครัวเรือนมีรายได้จากการจำหน่ายกระติบข้าวตลอดทั้งปี  ขยายภูมิปัญญาโดยการสอนผู้สนใจ  ลูกหลานคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจภูมปัญญาด้านการจักสานค่อนข้างน้อย  ในอนาคตอาจจะขาดคนสานกระติบข้าวจากไม้ไผ่  ในฤดูฝนไม้ไผ่จะมีตัวมอด  เจาะกิน ทำลาย ผลิตภัณฑ์

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา