ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่ไข่

โดย : นายเจริญ จันทร์เรือง วันที่ : 2017-04-21-09:00:14

ที่อยู่ : 54 หมู่ 9 ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านนาดีน้อย  เป็นหมู่บ้านจักสานที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอ   ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำงานด้านการจักสานเป็นอาชีพเสริม  เวลาว่างใช้จักสานเป็นส่วนใหญ่  มีเวลาน้อย  ซื้ออาหารรับประทานจะมีรถแม่ค้าเข้าไปจำหน่ายในหมู่บ้าน  ซื้ออาหารไว้รับประทานเกือบทุกชนิด   ซึ่งไข่ไก่เป็นอาหารที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  โดยเฉพาะเด็ก ผู้ใหญ่ วัยทำงานต้องรับประทานไข่ทุกวัน  โครงการสัมมาชีพชุมชนมีปราชญ์ของหมู่บ้าน ที่มีความชำนาญทำการเกษตรแบบผสมผสาน  จึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลุ่มสัมมาชีพเลี้ยงไก่ไข่  เพื่อเป็นการลดรายจ่าย และได้รับงบประมาณจากจังหวัดเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่  จึงได้คิดต่อยอดจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพการเลี้ยงไก่ไข่จำหน่ายในราคาถูกให้กับคนในชุมชน  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารเม็ด  ผักสวนครัว  เศษอาหารจากครัวเรือน

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเลี้ยงไก่ไข่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ และอุปกรณ์ที่พิเศษขึ้นมาก็ยกตัวอย่าง เช่น

1.อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น

2.อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ

3.รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่

4.วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่

5.อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์

 

 

ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่

1.อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้ เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่

2.อาหารเสริม เป็นอาหารที่นำไปเสริมเพื่อเพิ่มสารอาหารด้านต่าง ๆ ที่ยังขาด เพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารครบถ้วน

3.ผักสด/แห้ง  บดหรือสับให้ละเอียด

โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

1.ป้องกันแดด ลม และฝน

2.แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัข

3.ทำความสะอาดได้ง่าย

4.ห่างจากชุมชน  เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน

5.ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก

6.ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

ควบคุมและป้องกันสัตว์อื่นๆ ไม่ให้รบกวน   จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัดทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและคำนวณต้นทุนการผลิต

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา