ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนาอินทรีย์

โดย : นายทับทิม เมืองโคตร วันที่ : 2017-03-07-15:14:48

ที่อยู่ : 68 หมู่ 10 ตำบลหว้านใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 การทำนาข้าวปลอดสารพิษ  เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเกษตรทฤษฎีใหม่  โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อให้ข้าวสำหรับการบริโภคอย่างปลอดภัย  ไร้สารพิษ  รักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  ปลอดภัย  ถูกสุขลักษณะอนามัย  สมบูรณ์  แข็งแรง ปราศจากโรคหรือมีโรคน้อยที่สุด  เมื่อคนมีความแข็งแรงทั้งกายและใจแล้ว  จะได้ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  เพื่อให้เกิดผลดี  โดยภูมิภาคที่ทำนาข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นภาคกลาง  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคเหนือ ตามลำดับ 

วัตถุประสงค์ ->

ประโยชน์การทำนาข้าวอินทรีย์

1.      ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น  เพราะการใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์จะทำให้ได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่  โดยต้นทุนในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงแค่  ประมาณ 200 บาท ต่อไร่โดยอาจจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากในตอนแรกแต่จะค่อยๆ ลดลงเมื่อสภาพดินดีแล้ว  ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่  โดยต้นทุนการผลิตประมาณ 400 บาทต่อไร่และต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นในทุกๆ ปี

2.      ได้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์กลับคืนมา  ดินร่วนซุย  รากข้าวไชหาอาหารง่าย กบ กุ้ง ปลาชุกชุม  มีสุขภาพชีวิตที่ดี  มีอาหารพิษไว้บริโภค

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดพันธุ์ข้าว

2. ปุ๋ยอินทรีย์

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

    ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพันธุ์ข้าว การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

-          คัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่นา เช่น ข้าวพันธุ์ ก.ข. 6 จะชอบพื้นที่ในที่ลุ่มน้ำขังตลอด ตั้งแต่ปักดำจนถึงออกรวงและมีแป้ง จึงจะปล่อยน้ำออกจากคันนาได้และได้ผลผลิตดี

-          การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว  คัดเลือกแปลงข้าวที่มีต้นข้าว  รวงข้าว  เมล็ดข้าวที่โตแข็งแรง  เมล็ดข้าวแก่จัด เมล็ดข้าวที่มีความสมบูรณ์ ถอนออกเป็นรวงๆ ที่สมบูรณ์ที่สุดเก็บไว้ต่างหาก  แล้วนำมาแยกเมล็ดข้าวและฟางข้าวออกจากกัน จากนั้นนำเมล็ดมาฝัด  เพื่อคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออก แล้วนำเมล็ดข้าวที่คัดเลือกกว่าดีแล้วตากแห้งแล้วเก็บไว้ ทำพันธุ์ในปีต่อไป

     ขั้นที่ 2  การเตรียมพื้นที่ทำนา

-          การเตรียมคูคันนา การทำนาจะต้องเตรียมคูคันนาให้มีความสูงประมาณ 50 – 70 เซนติเมตร  หนา 60 – 80 เซนติเมตร เพื่อกักเก็บน้ำ เพราะข้าวจะขาดน้ำไม่ได้  ถ้าไม่มีน้ำขังจะเกิดพวกวัชพืชในข้าว  ทำให้ข้าวเจริญเติบโตช้า

-          ปรับพื้นที่ในคันนาให้มีระดับเท่ากัน อย่าให้มีน้ำเอียงด้านใดด้านหนึ่ง  เพื่อจะได้ขังน้ำอยู่ระดับเดียวกัน  ถ้าหากพื้นที่นามีความลุ่ม  มีระดับพื้นที่ในระดับเดียวกันก็ไม่มีความจำเป็นในการปรับพื้นที่

  ขั้นที่ 3  หลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จ

 พื้นที่นายังมีฟางข้าวมีหญ้า  เราควรนำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์หว่านทั่วไป  โดยคิดเฉลี่ย 200 กิโลกรัม  ต่อ 1 ไร่ แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำยาจุลินทรีย์  ให้ทั่วแล้วไถกลบฟางข้าว  จุลินทรีย์  จะช่วยย่อยสลายฟางข้าว  ให้เน่าเปื่อย ทำให้ดินร่วมซุยเป็นอาหารของข้าวต่อ    ไปสำหรับขั้นตอนนี้ควรทำในช่วงเดือนธันวาคม  เพราะในช่วงนี้เป็นหน้าหนาว  มีหมอกลงเหมาะในการขยายตัวของเชื้อจุลทรีย์

ขั้นตอนที่ 4 

นำน้ำจุลินทรีย์มาหมักเมล็ดข้าว  โดยให้น้ำจุลินทรีย์  ท่วมเมล็ดข้าว  หากมีเมล็ดข้าวฟูน้ำให้เก็บออกให้หมด  ควรแช่เมล็ดข้าวประมาณ 2-3 วัน  แล้วนำขึ้นจากน้ำมาพักไว้สัก 1 วัน แล้วนำมาหว่านในแปลงที่เตรียมไว้

          ขั้นตอนที่ 5 การเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะต้นข้าว

                        พอถึงฤดูการทำนา  ถ้าหากปีไหนฝนดีคือฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน  ควรเตรียมพื้นที่สำหรับลกล้าพันธุ์ข้าว  คือเตรียมแปลงสำหรับเพาะพันธุ์ข้าว ซึ่งมีหลักพิจารณาคือ  ที่ดินร่วนซุยและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ  เช่น  สระน้ำ หนองน้ำ ถ้าหนองน้ำ ถ้าหากฝนที่ช่วง  จะได้อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำได้

          วิธีเตรียมแปลงเพาะกล้าพันธุ์ข้าว

-          ที่มีน้ำขังพอที่จะหว่านกล้า  เราก็ไถและคราดินให้ร่วนซุย  และระดับพื้นเสมอกันปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้มาหว่าน อย่าให้หนาหรือห่างจนเกินไป

-          ประมาณ 10 – 15 วัน ต้นกล้าตั้งหน่อได้แข็ง  นำน้ำจุลทรีย์ ผสมน้ำพ่นต้นกล้า โดยผสมน้ำจุลทรีย์ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงกล้า

-          ก่อนจะถอนกล้า 5 วัน ให้นำจุลทรีย์ พ่นอีกเพื่อจะได้ถอนง่าย เพราะรากจะฟู

ขั้นตอนที่ 6 ปักดำ

                   ในช่วงก่อนการปักดำ  เราควรขังน้ำไว้ในนา  เพื่อจะทำให้ดินนิ่ม  ดินไม่แข็ง  ง่ายในการไถดำ  เราควรจะกักน้ำเอาไว้

1.      พอถึงเวลาดำนา เราควรปล่อยน้ำที่ขังออกจากคันนา  ให้เหลือไว้ประมาณ 10 -15 เซนติเมตร อย่าให้น้ำมากหรือน้อยจนเกินไป  ถ้าน้ำมากจะทำให้ข้าวเปื่อย  ถ้าน้ำน้อยหากฝนขาดช่วงจำทำให้ข้าวขาดน้ำ  เพราะการทำนายังอาศัยน้ำฝน  จากธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน

2.      ไถนาและคราดที่นาให้ดินร่วมซุย  และนำต้นกล้ามาปักดำ  ซึ่งกะความห่างระหว่างต้นให้ห่างประมาณ  40 เซนติเมตร  เพื่อให้แตกกอได้ดีและใส่ต้นกล้า  กอละประมาณ 2 – 3 ต้นกล้า

3.      เมื่อปักดำประมาณ 15 วัน นำจุลินทรีย์ไปผสมน้ำพ้นต้นขาวในนา  เพื่อกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ที่หว่านตอนเตรียมที่ดิน  และจะทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเติบโตและทนต่อศัตรูข้าว

4.      คอยหมั่นดูแลต้นข้าว  และดูแลระดับน้ำอย่าให้ขาดในนาข้าว หมั่นรักษาไม่ให้วัชพืชขึ้นในนาข้าว  และพ่นจุลินทรีย์ในทุกๆ 20 วัน จนถึงข้าวตั้งท้องแล้วจึงงดการพ่นจุลินทรีย์  แต่ยังคงรักษาระดับน้ำในคันนาอย่าให้ขาด

5.      พอข้าวแก่พอสมควรก็ปล่อยน้ำออกจากคันนา  และเตรียมเก็บเกี่ยวต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมุกดาหาร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา