ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ถักไม้กวาด

โดย : นายทนงจิตย์ กลางประพันธ์ วันที่ : 2017-03-27-14:29:24

ที่อยู่ : 104 ม.6 ต.หนองสูงใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำไม้กวาดในท้องถิ่นหมู่บ้านแวง มีมานานแล้ว มีการถักไม้กวาดเพื่อใช้สอยในครอบครัวของตนเอง หรือทำเพื่อแบ่งใช้ในครอบครัวหลักของปู่ ย่า  ตา  ยาย  ที่นิยมจักสาน ทำไม้กวาดใช้ และมีการกระจายทำไม้กวาดแจกจ่ายฝากลูก หลานใช้ปัดกวาด ใช้ในบ้าน ในบางครั้งก็ถักทำถวายพระในวัด ปัดกวาด โบสถ์  ศาลา  กุฏิ  รูปแบบของไม้กวาดที่ชาวบ้านทำขึ้น แบ่งเป็น  ไม้กวาดหางไก่  ไม้กวาดหางช้าง  หรือไม้กวาดแบบง่ายๆ มัดเป็นกำก็ใช้ได้เลย

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.ดอกแขม

๒.หวาย,เชือก,ฟาง

อุปกรณ์ ->

๑.เหล็กหมาด              ๒.ด้ามไม้กวาด

๓.สว่าน                      ๔.มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.  เลือกไม้ไผ่ส่วนปลาย  เหลาให้เกลี้ยงแล้วรมควันไฟ  เส้นผ่าศูนย์กลาง   ประมาณ  ๑.๕ – ๒  ซม.    ตัดเป็นท่อนให้มีความยาวประมาณ  35  นิ้ว  ที่ส่วนหัวจะมีตะขอไม้ไผ่เพื่อทำเป็นด้ามไม้กวาด

๒.   นำส่วนปลายไม้ไผ่   ใช้สว่านเจาะรู  ห่างจากปลายไม้ขึ้นประมาณ  ๑ ซม.

เจาะ ๑ รู    และอีกรูหนึ่งห่างกันประมาณ  ๑.๕  ซ.ม.  โดยเจาะให้เป็นรูเครื่องหมายบวก รูบนใส่สกรู  ส่วนรูล่างผูกหวาย หรือเชือก สำหรับ  จะใช้ถัก และมัด

๓.   แยกช่อดอกแขม  เป็น  ๓  ส่วน  คือ  ส่วนสั้น   กลาง  และยาว  ส่วนที่สั้นที่สุด ๑  กำใหญ่  ช่อแขมขนาดกลาง  ๑๔  กำเล็ก   และยาวที่สุด         ๒  กำใหญ่  รวมแบ่งช่อแขมออกเป็น  ๑๗  กำ

๔.  มัดช่อแขมที่ละกำ  จากกำที่มีขนาดสั้นที่สุด  และยาวที่สุด   ตรงกลางกำ

แรกจะสั้น  ส่วนด้านหน้าและด้านหลังจะใช้แขมยาวที่สุด  ด้านปีกข้างจะใช้แขมขนาดกลางที่จัดไว้  ตามขั้นตอนดังนี้

                            ๔.๑ นำช่อแขมที่สั้นที่สุด ๑ กำ  มามัดให้รอบปลายด้ามไม้กวาด  โดยใช้เส้น

หวายที่ผูกอยู่กับปลายด้ามให้แน่น  ใช้เหล็กหมาดแทงขัดหวาย ทำเป็นบ่วง  ไว้เพื่อมัดช่อแขมในขั้นต่อไป

  ๔.๒ นำช่อแขมกำที่ ๒  ซึ่งมีความยาวขนาดกลาง  สอดเข้าด้านปีกข้าง                                               

ใช้เส้นหวายสอดรัดให้ติดกับแขมกำที่ ๒ ดึงเส้นหวายขึ้นทางขวาให้แน่น   และพลิกไม้กวาด  ใช้เหล็กหมาดแทงแนวเฉียงระหว่างเส้นหวายกับช่อแขมที่มัดไว้แล้ว   สอดเส้นหวายสวนกลับทำเป็นบ่วงไว้

 ๔.๓ นำช่อแขมกำที่ ๓  ซึ่งยาวที่สุดที่จัดไว้  สอดเข้ากับบ่วง  วางทาบกับ

ด้ามไม้กวาด  จะเป็นด้านหน้า  ดึงหวายขึ้นทางขวารัดให้แน่น  แล้วพลิกไม้กวาด  ใช้เหล็กหมาดแทงสอดหวายสวนกลับทำเป็นบ่วงไว้

๔.๔  นำช่อแขมกำที่ ๔   ซึ่งยาวเท่ากับกำที่ ๒  (ขนาดกลาง)   สอดเข้ากับบ่วง

วาง ทับกับด้ามไม้กวาด  ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับกำที่ ๒ ดึงหวายขึ้นทางขวาให้แน่น    และพลิกใช้เหล็กหมาดแทงสอดหวายสวนกลับทำเป็นบ่วงไว้

๔.๕  นำช่อแขมกำที่ ๕   ซึ่งยาวเท่ากับกำที่ ๓   สอดเข้ากับบ่วงทาบกับไม้

กวาดดึงหวายขึ้นทางขวาให้แน่นและพลิกใช้เหล็กหมาดแทงสอดเส้นหวาย    สวนกลับทำเป็นบ่วง

๔.๖  ช่อแขมกำที่ ๖   ซึ่งยาวเท่ากับกำที่  ๒,๔  สอดเข้ากับบ่วงทาบกับด้ามไม้

กวาดดึงหวายขึ้นทางขวาให้แน่นและพลิก    ใช้เหล็กหมาดแทงสอดหวายทำเป็นบ่วงไว้  นำช่อแขมกำที่  ๗    ทาบกับไม้กวาดดึงหวายทำเป็นบ่วงไว้นำช่อแขมกำที่  ๗    ทาบกับด้ามไม้กวาดดึงหวายขึ้นทางขวาให้แน่นส่วนกำที่  ๘, ๙, ๑๐  และ ๑๑ ทำเช่นเดียวกันจนหมดจะวางทาบเฉพาะสองปีกข้างส่วนด้านหน้าและด้านหลังจะใช้หวายรัดขัดให้แน่นทำเช่นนี้จะได้ข้างละ  ๗  กำของช่อแขม                                                                                                                                   

๔.๗  จากนั้นถักหวายต่อไปด้วยวิธีเดิมโดยไม้ต้องใส่ช่อแขม  ใช้เหล็ก

หมาดแทงพลิกด้านหน้า   ด้านข้าง   ด้านหลังสอดเส้นหวายสวนตามและดึงให้แน่น   ทุกครั้งจนรอบไม้กวาดทั้ง  ๔ ด้านทำเช่นนี้ไปเรื่อยประมาณ ๑๒ – ๑๓ รอบ

๔.๘  ใช้มีดตัดแต่งขั้นสุดท้ายใช้สว่านเจาะรูทะลุด้ามไม้กวาดแล้วสอดเส้น

หวายตรงรูที่เจาะ แทงรัด   ดึงให้แน่นตัดเส้นหวาย   การทำไม้กวาดก็เสร็จสิ้น

ข้อพึงระวัง ->

สำหรับหวาย  ฟาง  เส้นพลาสติก  หรือเชือกที่จะใช้ในการทำไม้กวาดนั้น ผู้ที่จะทำจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้    ตามความเหมาะสมและมีการเตรียม การดังนี้ 

                   ๑.   หวาย  ผ่า เส้นหวายยาวประมาณ  ๓  เมตร  เหลาให้เรียบแบน กว้าง

 ประมาณ  ๐.๒๕  ซม.  แล้วดึงผ่านรูที่เจาะไว้บนก้นกระป๋อง เพื่อลบเหลี่ยมที่คมของหวายออกแล้วนำไปแช่น้ำก่อนทำประมาณ ๑๐ – ๓๐ นาที  เส้นหวายจะอ่อนและนิ่ม

๒.      เส้นพลาสติก จะเป็นเส้นพลาสติกที่ใช้สานตะกร้า แบ่งเป็น  ๖  ส่วน ใช้

กรรไกรตัดในแนวยาว  มีความยาวประมาณเส้นละ ๓ เมตร

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมุกดาหาร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา