ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สบู่สมุนไพร-น้ำมันเหลือง

โดย : นางลับ สุคำภา วันที่ : 2017-03-24-17:29:46

ที่อยู่ : 88 หมู่ที่ 6 ตำบลดงมอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไขมันหรือน้ำมัน ด่าง ชนิดของด่างที่ใช้ มี 2 ชนิด - โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ  น้ำ ส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ - บอแร็กซ์ สมุนไพรต่างๆ

 

อุปกรณ์ ->

1. หม้อสแตนเลส 2 ใบ (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน) 
2. เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส) 

3. ไม้พาย 1 อัน 
4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่) 
5. ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ) 
6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง) 
7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว) 
8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ) 
9. เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส 
10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม 
11. ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก 
12. แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติด 
13. อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว, กระดาษวัดค่า pH 

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมแม่พิมพ์สบู่ 
2. เตรียมเครื่องมือทั้งหมด 
3. ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา 
4. ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง 
5. ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส 
6. ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง 
7. เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง 
8. เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์ 
9. ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน 
10. ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส 
11. ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะแจกจ่าย/ขายในชุมชน 

ข้อพึงระวัง ->

1. เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่ 
2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ ห้ามใช้วัสดุ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี หรือโลหะอื่น ๆ นอกจากที่แนะนำ เพราะโลหะเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ เป็นอันตรายแก่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้ 
3. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม เช่น ชั่งของระหว่าง 1 - 3 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กก. กรณีที่ชั่งวัตถุต่ำกว่า 1 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 1 กก. การผลิตสบู่ก้อน ให้ชั่งส่วนผสมทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องชั่งสม่ำเสมอ 
4. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียววัดทั้งอุณหภูมิของน้ำด่าง และไขมันนั้น ต้องล้างน้ำและเช็ดให้สะอาดทุกครั้งที่จะเปลี่ยนชนิดการวัด 
5. สถานที่ผลิตควรมีอ่างน้ำ หรือถังใส่น้ำสะอาดประมาณ 10 ลิตร เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำด่างกระเด็นถูกผิวหนัง 
6. ห้ามเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 12 ปี และสัตว์เลี้ยง เข้าใกล้บริเวณที่ผลิต รวมถึงการให้ความรู้ และทำความเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมี แก่สมาชิกที่ร่วมผลิต และบุตรหลาน 
7. ซื้อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เฉพาะที่ใช้ หรือเหลือเก็บเล็กน้อยเท่านั้น เก็บไว้ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง หากสามารถใส่กุญแจจะเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ใส่ต้องปิดให้สนิท โซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่เหลือเก็บต้องมีฉลากและวิธีการแก้ไข หรือวิธีการปฐมพยาบาลที่ภาชนะบรรจุทุกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสบู่ ตรวจสอบค่า pH โดยตัดชิ้นสบู่เล็กน้อย เป็นแผ่นบาง ๆ ประมาณ 5 กรัม นำมาละลายย้ำ 10 มล. จุ่มกระดาษวัด pH วัดประมาณ 30 วินาที จนสีกระดาษคงที่ นำกระดาษ pH มาเทียบกับสีมาตรฐาน ที่กล่อง ถ้าสีเหมือนกับช่องใด ซึ่งมีค่า pH กำกับไว้ ทำให้ทราบค่า pH ของสบู่ได้ เช่น ดูจากลักษณะ ภายนอก เช่น การเกิดฟอง การล้างน้ำออก การทดสอบฟอง ความนุ่มหลังจากการใช้ 


 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมุกดาหาร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา