ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ส่งเสริมการปลูกพืชผลทางการเกษตร

โดย : นายสมใจ วงศ์คำภา วันที่ : 2017-03-24-16:29:07

ที่อยู่ : 16 ม.5 ตำบลบ้านแก้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านภูวง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแก้ง เป็นหมู่บ้านที่มีปราชญ์สัมมาชีพที่มี ภูมิปัญญาในการปลูกผักหวานที่ประสบความสำเร็จ และสามารถจำหน่วยสร้างอาชีพสร้างรายได้ ให้กับครอบครัวได้ ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันตามโครงการสัมมาชีพชุมชน ปลูกผักหวาน โดยมีนายสมใจ วงศ์คำภา เป็นผู้สอนเทคนิคในการปลูก

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างรายได้เสริม

2.เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

3.เกิดความสามัคคีในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.กล้าผักหวาน

2.อุปกรณ์ในการปลูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกผักหวาน

1. เลือกใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ดมาปลูก จะให้ผลผลิตดีและอายุยืนกว่า แบบกิ่งตอน 

 2. ปลูกพืชพี่เลี้ยงไว้ก่อนที่จะปลูกต้นผักหวานป่า เช่น ต้นมะขามเทศ,ชะอม,,โสน,กระถิน,ต้นแค ฯลฯ พืชที่กล่าวมานี้จัดเป็นพืชตระกูลถั่วทั้งหมด เลือกปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือจะหลายอย่างก็ได้...

3.เลือกทิศทางที่จะปลูกให้เหมาะสมตามสภาพของแสงแดด ต้นผักหวานป่านั้นไม่ชอบแดด ชอบอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ มีแสงรำไร

4.ระยะห่าง ระหว่างต้นและระหว่างแถว ~  2 x 2 เมตร

5.ขุดหลุมปลูก กว้าง และ ลึก เท่ากับขนาดของถุงต้นพันธุ์ แล้วผสมปุ๋ยคอก( 2-3 กำมือ/ต้น) กับดินลูกรัง ใส่รองก้นหลุมไว้ **ควรปลูกในเดือนเมษายน

6.เตรียมนำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูก โดย ใช้กรรไกรตัดโดยรอบก้นถุง แล้วค่อยๆแกะถุงพลาสติกด้านล่างออกเท่านั้นตรงนี้ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษเพราะปลายของรากแก้วจะมาขดตัวอยู่ในซอกมุมของถุง ถ้ารากแก้วหักหรือขาดโอกาสที่ต้นผักหวานป่าจะตายมีสูง แต่ถ้าเกิดพลาดทำรากขาดไปบ้าง ก็ปลูกไปเถอะ..เผื่อรอด ! ..ค่อยๆหย่อนต้นพันธุ์ลงหลุมโดยที่ไม่เอาถุงดำออก คือ ปลูกไปทั้งถุงนั่นแหละ มันอาจจะดูแปลกๆสักหน่อย แต่ตรงนี้นี่แหละที่เป็นเทคนิค...ที่ทำให้ต้นผักหวานของเรา รอดตายมาได้เกือบทุกต้น... ไม่ต้องกลัว เมื่อเวลาผ่านไป ถุงพลาสติกจะค่อยๆเปื่อยสลายไปเอง.

7.หาเศษใบไม้แห้ง หรือฟางข้าวมาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หลังจากนั้นต้องหาวัสดุอะไรก็ได้เช่น ตะเข่ง,ตะกร้า,แสลน  มาคลุมไว้ เพื่อช่วยบังแสงในช่วงบ่าย ต้นผักหวานจะไม่เหี่ยวเฉาเลยแม้แดดจะร้อนมากเพียงใด ของเราใช้ตะกร้าพลาสติก ควรครอบไว้จนกว่าต้นผักหวานจะมีอายุได้อย่างน้อย 6 เดือนก็เอาออกได้

ข้อพึงระวัง ->

ควรปลูกเดือน เมษายน และรองก้นหลุ่มด้วยดินลูกรัง

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมุกดาหาร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา