ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสาน

โดย : นายมวย ภักสรสิทธิ์ วันที่ : 2017-03-16-16:59:35

ที่อยู่ : บ้านชาดน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลหนองเม็ก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คนในสมัยก่อนได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องของการจักสานไว้ให้ลูกหลาน เพราะวิถีชีวิตของคนในชุมชนทำมาหากินตามท้องไร่ท้องนา เครื่งมือเครื่งใช้ในการทำมาหากินบางอย่างก็ทำเองจากวีสดุในท้องถิ่น เช่น ไซ สุ่มดักปลา กระบุงตักน้ำ ข้องใส่ปลา ลอบดักปลาเป็นต้น  ไม่ไม้ก็ขี้นเองตามท้องไร่ท้องนา จึงเอาจักและสานเป็นของใช้ในครัวเรือน ปัจจุบันจึงได้พัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1.สืบทอดภูมิปัญญา 2.เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าชุมชนจำหน่ายมีรายได้เสริมครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การสาน

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

การรมควัน

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่ ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

การถักและพัน

เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย มีการผูกปาก พันขา ใส่ฐานและหูหิ้ว

นำตอกยืน 4 เส้น วัดกึ่งกลางเส้นแล้ววางตัดกันเป็นเครื่องหมาย + เพื่อก่อก้น โดยสานลายสองขัดบีในขั้นตอนนี้จะใช้ตอกยืนทั้งหมด จนได้แผ่นพื้นตะกร้าตามขนาดที่ต้องการจากนั้นนำเข้าแบบพิมพ์ตะกร้า (ตัวแบบพิมพ์ทำจากท่อนไม้เป็นรูปกลมขนาดใหญ่ – เล็ก) เพื่อสานผนังตะกร้าต่อจากก้นโดยใช้ตอกสานเส้นกลมสานลายหนึ่งคือข้ามหนึ่งสอดหนึ่งโดยใช้เส้นตอกยืนเป็นหลักสานไปเรื่อยๆจนได้ขนาดของตะกร้าตามต้องการโดยให้เหลือส่วนปลายของตอกยืนไว้ ประมาณ 15 ซม. เผื่อไว้พับเป็นปากตะกร้าจากนั้นนำออกจากแบบพิมพ์
       การล้มปาก  คือการพับปากตะกร้า  โดยตอกยืนที่เหลือไว้นั้นจับรวมกันจับละ 4-5เส้นแล้วม้วนสอดเข้าตามช่องของปากตะกร้าในลักษณะเอียงล้มไปในทิศทางเดียวกันให้สวยงาม และแข็งแรง ใช้ไม้คัดก้น 2 อัน สอดปลายแหลมเข้าที่มุมก้นตะกร้าในลักษณะไขว้กัน (เครื่องหมาย X) เพื่อให้เกิดความคงรูปแข็งแรง และตอกตีนคือไม้ตรงปล้องไม้ไผ่ทำเป็นปุ่มปลายแหลม จุ่มเทียนแล้วตีเข้ามุมก้นเป็นขาของตะกร้า 4มุม

ข้อพึงระวัง ->

การจักสานต้องใช้ความอดทน การจักตอกต้องละเอียด จึงจะสานออกมาปราณีตสวยงาม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา