ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางเลียบ แทนทอง วันที่ : 2017-03-16-14:42:18

ที่อยู่ : 21 บ้านโคกศูง หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ชาวบ้านได้สืบทอดมาจากบรรพรุษ ในสมัยก่อนหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ผู้หญิงจะทอผ้าไว้ใช้เองในครัวเรือน  ผู้ชายจะจักสาน ผ้าไหมเป็นผ้าที่มีความสวยงามและมีราคาแพง คนในชุมชนจึงนิยมปลูกหม่อนเลั้ยงไหมและทอผ้าไหมไว้ใช้เอง ต่อมาได้ทางราชการได้มาส่งเสริมให้คนในชุมชนจัดตั้งกลุ่มในการประกอบอาชีพทอผ้าไหมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่สามารถจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.มีการเลี้ยงไหมและผลิตเส้นไหมเอง

2. มีแปลงปลูกหม่อน

อุปกรณ์ ->

          1. กี่ทอผ้าไหม เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งอีกอันหนึ่ง ลักษณะของกี่ จะมีโครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยเสาหลัก 4 เสา มีไม้ยึดติดกัน เป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้มาในอดีตและปัจจุบันยังนิยมใช้อยู่ เพราะกี่ชนิดนี้ใช้ทอผ้าที่มีลวดลายต่างๆ ได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ กี่กระตุกเป็นกี่แบบใหม่ที่ได้วิวัฒนาการให้มีคุณภาพในการทอรวดเร็วยิ่งขึ้น

          2. กระสวย ทำจากไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 1 ฟุต หัวหน้าท้ายเรียวงอน ตรงกลางเป็นรางสำหรับใส่หลอดด้ายทางต่ำ (เส้นพุ่ง) เป็นเครื่องมือที่บรรจุหลอดไหมเส้นพุ่ง เพื่อนำเส้นไหมไปขัดกับเส้นไหมยืน เดิมมักจะทำด้วยไม้แต่ปัจจุบันมีทั้งทำด้วยไม้และพลาสติก

          3. หลอดด้าย (ไหม) นิยมทำจากเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครือไส้ตัน เครือไส้ตันนี้จะมีรูกลวงตลอด ตัดเป็นท่อนๆ ท่อนละประมาณ 3 นิ้ว อาจจะใช้ไม้อย่างอื่นก็ได้ที่มีรูตรงกลาง เช่น ลำปอแก้ว เพื่อใช้ไม้สอดยึดติดกับกระสวย ไม้นี้เรียกว่าไม้ขอหลอด

          4. ไม้เหยียบหูก เป็นไม้กลมๆ ยาวประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สำหรับสอดกับเชือกที่ผูกโยง จากด้านล่างของเขาลงมาทำเป็นห่วงไว้เมื่อจะให้เขาขึ้น - ลง ในกรณีเปลี่ยนสีของเส้นไหมก็เหยียบไม้นี้ ไม้เหยียบหูก จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนของฟืมนั้นๆ

          5. ไม้หาบหูก เป็นไม้ที่สอดร้อยกับเชือกที่ผูกเขาด้านบน เพื่อให้หูกยึดติดกับกี่ไม้หาบหูกจะมีอันเดียวไม่ว่าจะใช้ฟืมที่มี 2 เขา,3 เขา หรือ 4 เขา

          6. ฟืม เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้า มีตัวฟืมที่ทำจากไม้ เนื้อแข็ง เป็นกรอบสี่เหลี่ยม มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นตับอยู่กลางและระยะห่างของฟันเป็นที่ใช้สำหรับสอดเส้นไหมผ่าน ความกว้างของฟืม ประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร ส่วนความยาวของฟืมคือความกว้างของผืนผ้าในการใช้ฟืมเนื่องจากการทอครั้งต่อไปจะต้องเหลือเส้นไหมที่ทอครั้งก่อนไว้ เพื่อนำมาผูกกับเส้นไหมที่ต้องการทอครั้งต่อไปโดยไม่ให้เส้นไหมจากการทอครั้งก่อนหลุดออกจากฟืม ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเส้นไหมมาสอดผ่านฟันของใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานมาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา