ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงกบ

โดย : นายมนตรี ตาแสงสา วันที่ : 2017-05-26-23:40:30

ที่อยู่ : 47 หมู่ที่ 15 บ้านหนองบัว ตำบลกุดรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการได้รับการฝึกอบรมของหน่วยงานต่าง ๆ แล้วนำมาปฏิบัติที่บ้านและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ จนสามารถยึดเป็นอาชีพได้จนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นอาชีพเสริม

2.เพื่อเพิ่มรายได้

3.เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับครอบครัวและชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

-บ่อซีเมนต์

-ก๊อกน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

บ่อหรือคอกเลี้ยงกบ
สถานที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือคอกเลี้ยง จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมากโดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา มันจะไม่ส่งเสียงร้องให้เจ้าของรู้เหมือนสัตว์อื่นๆ ศัตรูของกบส่วนมากได้แก่ งู นก หนู หมา แมว และที่สำคัญที่สุดได้แก่ คน ดังนั้นถ้าบ่อเลี้ยงหรือคอกเลี้ยงกบ อยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกคนขโมยจับกบไปขายหมด นกนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืน นกกลางคืนโดยเฉพาะนกเค้าแมวสามารถลงไปอยู่ปะปนแล้วจับกบกินอย่างง่ายดาย แมวนับว่ามีส่วนทำลายกบมากเพราะถึงแม้มันจะจับกบกินเพียงตัวเดียวแล้วก็อิ่ม แต่เมื่ออิ่มแล้วมันยังจับกบตัวอื่นๆ มาหยอกเล่น และทำให้กบตายในที่สุด

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
กบที่เหมาะสมจะนำมาเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/ กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3.4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก.ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่นๆ ลักษณะของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และส่วนที่เห็นได้ชัดก็คือ กบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวๆ มุนปากล่างทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดังกล่าว กบตัวเมียจะร้องเช่นกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวเมียที่มีไข่แก่ (ท้องแก่)จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมีย แต่ถึงอย่างไรก็ตามสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม

การเพาะพันธุ์กบ การเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์กบนา สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. รวบรวมจากธรรมชาติหรือหาซื้อจากแหล่งเพาะเลี้ยงกบอื่นๆ ที่เชื่อถือได้
2. พ่อ-แม่พันธุ์จากที่เลี้ยงไว้เพาะพันธุ์ขึ้นเอง
2.1 ทำการคัดเลือกกบเพศผู้ เพศเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์ และมีอัตราการเจริญเติบโตปกติสม่ำเสมอ มีรูปร่างสมส่วนตามสายพันธุ์ ไม่มีบาดแผลตามลำตัว และปราศจากโรค
2.2 การเลี้ยงเพื่อทำพ่อ-แม่พันธุ์ ความเลี้ยงแยกเพศ และสามารถแยกเพศได้โดยการดูลักษณะเพศจากภายนอกซึ่งโดยทั่วไปกบเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบเพศเมีย มีกล่องเสียงอยู่ใต้คางทั้งสองข้าง ในกบเพศเมียจะไม่มีสีบนลำตัวเพศผู้จะมีสีเหลืองอ่อนๆ หรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเด่นชัดกว่าเพศเมีย
2.3 ระหว่างการเลี้ยงเพื่อทำพ่อ-แม่พันธุ์ ควรมีการเสริมวิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน C D E และวิตามินรวมอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรค และช่วยการพัฒนารังไข่และน้ำเชื้อให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังควรที่จะต้องมีการถ่ายพยาธิด้วยอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำจัดโปรโตซัวบางชนิดซึ่งบางครั้งกบที่เลี้ยงนี้อาจมีการติดเชื้อโปรโตซัวในทางเดินอาหารและถ้าเป็นติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะทำให้กบตายได้
2.4 อัตราที่ปล่อยเลี้ยง 30 ตัวต่อตารางเมตร
2.5 ภายในบ่อควรใส่วัสดุสำหรับเป็นที่หลบซ่อน
2.6 พ่อ-แม่พันธุ์ที่พร้อมและสมบูรณ์เพศควรมีอายุตั้งแต่ 1-2 ปี

การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ก่อนที่จะทำการเพาะด้วยด่างทับทิมเข้มข้น 10 ppm แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นล้างทำความ สะอาดให้หมด
2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ซม. และไม่ควรให้ระดับน้ำสูงเกินไปกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมียขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง มันจะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ไข่ออกมาไม่มาก
3. เตรียมฝนเทียม โดยทั่วไปกบจะจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน แต่สำหรับการเพาะพันธุ์ เราจะทำให้เหมือนธรรมชาติ ด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งทำได้โดยการนำเอาท่อ PVC ขนาด ครึ่งนิ้ว มาเจาะรูเล็กๆ ตามท่อต่อน้ำเข้าไปและให้น้ำไหลออกได้คล้ายฝนตก และนำท่อน้ำฝนเทียมนี้ไปพาดไว้บนปากบ่อหรือหลังคาคลุมบ่อและเปิดใช้เวลาที่จะทำการผสมพันธุ์กบ

การคัดพ่อ-แม่พันธุ์
1. แม่พันธุ์ตัวที่มีไข่ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และจะมีปุ่มสากข้างลำตัวทั้ง 2 ข้าง เมื่อเราใช้นิ้วสัมผัสจะรู้สึกได้ และแม่พันธุ์ตัวที่พร้อมมากจะมีปุ่มสากมากแต่เมื่อไข่หมอท้องปุ่มสากนี้ก็จะหายไป
2. การคัดเลือกพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องเสียงดังและกล่องเสียงที่ใต้คางก็จะพองโปน ลำตัวจะมีสีเหลืองเข้มและเมื่อเราใช้นิ้วสอดที่ใต้ท้อง มันจะใช้หน้ากอดรัดนิ้วเราไว้แน่น

การผสมพันธุ์
1. ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงไปในบ่อที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้อัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย จำนวน 1:1 ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. และจะต้องทำการปล่อยให้กบผสมกันในตอนเย็น
2. เมื่อปล่อยกบลงไปแล้วจึงเปิดฝนเทียมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กบจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลา ประมาณ 17.00 น. - 22.00 น. ซึ่งภายในบ่อเพาะต้องมีท่อให้น้ำล้นออกด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไป
3. กบจะจับคู่ผสมพันธุ์และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด

การลำเลียงไข่กบจากบ่อผสมไปบ่ออนุบาล
1. หลังจากกบปล่อยไข่แล้วในตอนเช้าจะต้องทำการจับกบขึ้นไปใส่ไว้ในบ่อดินจากนั้นจะค่อยๆ ลดน้ำในบ่อลงโดยใช้วิธีเปิดวาวล์ที่ท่อระบายน้ำ และใช้สวิงผ้านิ่มๆ รองรับไข่ที่ไหลตามน้ำออกมา โดยขณะที่น้ำลดนั้นต้องคอยใช้สายยางฉีดน้ำ ไล่ไข่ออกมาโดยจะต้องทำเบาๆ และควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตกและจะต้องทำการลำเลียงไข่ในตอนเช้า ขณะที่ไข่กบยังมีวุ้นเหนียวหุ้มอยู่
2. นำไข่ที่รวบรวมได้ไปใส่บ่ออนุบาลโดยใช้ถ้วยตวงตักไข่ โรยให้ทั่วๆ บ่อแต่ต้องระวังไม่ให้ไข่กบซ้อนทับกันมากเพราะจำทำให้ไข่เสียและไม่ฟักเป็นตัว เนื่องจากขาดออกซิเจน
3. ระดับน้ำที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 7-10 ซม. ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 24 ชม.

การอนุบาลลูกกบ

อาหารและการให้อาหาร
1. เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้วช่วงระยะ 2 วันยังไม่ต้องให้อาหารเพราะยังไใช้ไข่แดง (yolk sac) ที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่  หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไรแดง ไข่ตุ๋น อาหารเม็ด ตามลำดับ
- อายุ 3 - 7 วัน ให้อาหาร 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน
- อายุ 7 - 21 วัน ให้อาหาร 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน
- อายุ 21 - 30 วัน ให้อาหาร 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 4 มื้อต่อวัน
- อายุ 1 - 4 เดือน ให้อาหาร 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 2 มื้อต่อวัน

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
1. เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ที่ระดับความลึก 30 ซม.
2. ลูกอ๊อดอายุครบ 4 วัน จะต้องทำาการย้ายบ่อครั้งที่ 1 และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 ซม.
3. เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
4. ทุกๆ 3-4 วัน ทำการย้ายบ่อพร้อมกับคัดขนาดลูกอ๊อด
5. เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดระดับน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 ซม. และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับเกาะอาศัยลงไปในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟม เป็นต้น

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา