ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ด

โดย : นายธีระ ดงเสือ วันที่ : 2017-03-15-16:14:19

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 14 ตำบลเลิงแฝก อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             เนื่องจากบ้านบัวแก้ว หมู่ที่ 14 ตำบลเลิงแฝก อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในชนบท จึงมีเศษขยะที่เป็นขยะอินทรีย์จำนวนมาก เช่น ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง หรือเศษอาหารต่างๆ เนื่องจากไม่มีการกำจัดโดยเทศบาล นอกจากนี้ในหมู่บ้านมีสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย หมู จำนวนมากจึงมูลสัตว์จำนวนไม่น้อยเช่นกัน จึงได้คิดว่าจะทำอย่างไรจะกำจัดเศษวัชพืชหรือใบไม้ใบหญ้าโดยไม่ต้องเผาให้เกิดควันหรือมลพิษ ก็น่าจะนำไปทำเป็นปุ๋ย โดยนำมาหมักรวมกันให้ย่อยสลาย แล้วนำเอามาผสมกับน้ำหมักเพื่อนำไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ด    

วัตถุประสงค์ ->

๑) เพื่อถ่ายทอดให้ผู้สนใจได้รู้และเข้าใจวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

๒) เพื่อให้ผู้สนใจนำความรู้ไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง

๓) เพื่อเป็นการกำจัดของเสียหรือเศษขยะในหมู่บ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑) เศษใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง

2) มูลสัตว์ (ขี้ไก่ ขี้หมู ขี้วัว)

๓) รำอ่อน

๔) กากน้ำตาล

5) แกลบดำ

6) โดโลไมต์

7) อีเอ็มหรือน้ำหมักชีวภาพ

8) แคลเซียม

9) น้ำ

อุปกรณ์ ->

๑) เครื่องบดละเอียด 1 เครื่อง

๒) เครื่องผสม 1 เครื่อง

๓) เครื่องอัดเม็ด 1 เครื่อ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      เศษใบไม้แห้ง เศษหญ้าแห้ง ฟางแห้ง หรือเศษอาหาร มาหมักรวมกันจนย่อยสลายแล้วนำมาบดให้ละเอียด

2.     นำมูลสัตว์ 3 ชนิด (ขี้ไก่ ขี้วัว ขี้หมู) มาตากให้แห้งก่อนนำไปบดละเอียด

3.     บดมูลสัตว์แต่ละทีละชนิด ไม่ควรบดรวมกัน

4.     นำวัตถุดิบมาเทรวมกันลงในเครื่องผสม แล้วเดินเครื่องประมาณ 10 นาที แล้วดูว่าเข้ากันหรือยัง ให้จับดูไม่ให้เปียกหรือแห้งจนเกินไป

5.     เมื่อวัตถุดิบเข้ากันแล้ว นำไปเทกองในบ่อหมักที่โรงเรือนสำหรับหมัก

6.     หมักไว้ประมาณ 15 วัน หรือ 1 เดือน (7 วัน กลับ 1 ครั้ง) แล้วนำไปอัดเม็ด

ข้อพึงระวัง ->

ควรเก็บไว้ในที่ร่มหรือในโรงเรือน ไม่ให้ตากปุ๋ยตากแดดตากฝน เพราะจะทำให้ปุ๋ยเสื่อมคุณภาพ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา