ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายสำรอง กันภัย วันที่ : 2017-03-20-08:41:43

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๙๖ หมู่ ๔ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             นายสำรอง กันภัย ได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมจากหน่วยงานด้านเกษตร ในเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของเศรษฐกิจพอเพียง และคิดว่าเป็นแนวคิดที่เหมาะกับตนมากเพราะเดิมทำการเกษตรอยู่แล้ว โดยเฉพาะการทำนาและไร่มันสำปะหลัง แต่ผลผลิตที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าปีไหนฝนดีฝนแล้ง ราคาผลผลิตก็ขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งบางปีได้ผลผลิตสูงแต่ราคาต่ำจนขาดทุน และก็เป็นอีกสาเหตุที่ยังทำให้มีหนี้สิน แต่พอได้มาศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน จึงเกิดความสนใจและเริ่มทำเกษตรแบบผสมผสาน

              โดยเริ่มปรับลดพื้นที่ปลูกข้าวและพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังลงส่วนหนึ่ง แล้วทดลองทำเป็นไร่นาสวนผสมตามเกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้สัดส่วน ๓๐-๓๐-๓๐-๑๐ ขุดบ่อน้ำเลี้ยงปลา ปลูกพืชหลายอย่างที่กินได้ พืชผักสวนครัว ปลูกไม้ยืนต้น ปลูกข้าว และหมุนเวียนปลูกพืชผักหลายอย่าง และที่สำคัญพืชผักที่ปลูกนั้นต้องปลอดสารเคมี เพราะเรากินก็ปลอดภัย และขายก็ได้ราคาดีกว่า การทำเกษตรผสมผสานก็ทำให้มีพืชผัก มีปลา กบไว้กินและจำหน่ายตลอดปี  

วัตถุประสงค์ ->

๑) เพื่อให้มีผลผลิตจำหน่ายและเกิดรายได้ตลอดปี   

๒) เพื่อให้ครอบครัวพออยู่พอกินพึ่งตนเองได้ โดยไม่ต้องเป็นหนี้สิน

๓) เพื่อเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนได้หันมาสนใจแนวคิดเกษตรผสมผสาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑) เมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ เมล็ดพันธุ์ข้าว (มีทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ได้แก่ ข้าวเหนียว กข ๖ ข้าวเหนียวดำ ข้าวหอมมะลิ 105 และข้าว กข 15 และข้าวไรซ์เบอร์รี่)

2) ปุ๋ยคอก

๓) ปุ๋ยอินทรีย์

๔) น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง

อุปกรณ์ ->

๑) เทคโนโลยีที่เหมาะสม ได้แก่ รถไถ รถเกี่ยว

๒) เสียม จอบ

๓) ผ้ามุ้งเขียว ผ้าสแลนด์กันแด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำเกษตรผสมผสาน ขั้นแรกต้องวางแผนโดยแบ่งพื้นที่เป็น ๓๐-๓๐-๓๐-๑๐ คือ ส่วนที่หนึ่ง  ๓๐% ขุดบ่อเก็บกักน้ำ ซึ่งในบ่อก็เลี้ยงปลาเลี้ยงกบด้วย ส่วนที่สอง ๓๐% ปลูกข้าว ส่วนที่สาม ๓๐% ปลูกพืชสวนพืชไร่ เช่น พืชผักสวนครัว ไม้ยืนต้น ไม้ผล ที่สามารถเก็บขายได้ เป็นการเสริมรายได้ ส่วนที่สี่ ๑๐% เป็นสิ่งปลูกสร้าง เช่น สร้างที่อยู่อาศัย สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉางข้าว เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ทุกอย่างควรเป็นวิธีการแบบปลอดสารเคมี การปลูกพืชทั้งข้าว พืชไร่ พืชสวน ควรใช้ปุ๋ยคอกจากสัตว์ที่เลี้ยง ปุ๋ยหมักซึ่งสามารถทำเองได้จากวัสดุธรรมชาติ และน้ำหมักสมุนไพรที่ไล่แมลงได้ ควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ใช้สารเคมีเลย เพราะปลอดภัยสำหรับเราบริโภคเอง และขายก็ได้ราคาสูง

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา