ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสาน

โดย : นายศิลปชัย จันทราวราสรรค์ วันที่ : 2017-03-14-10:48:24

ที่อยู่ : 155 หมู่ 9 ตำบลกู่ทอง อำ้เภอเชียงยืน จังหวัดมหาวสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นของใช้ดั้งเดิม ตกทอกมาจากรุ่นปู่ย่า ตายาย

เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของพื้นถิ่นไว้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่

หวาย

เชือกไนล่อน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          นำตอกยืน 4 เส้นวัดกึ่งกลางเส้นแล้ววางตัดกันเป็นเครื่องหมาย+เพื่อก่อก้นโดยสานลายสองขัดบีในขั้นตอนนี้จะใช้ตอกยืนทั้งหมดจนได้แผ่นพื้นตะกร้าตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำเข้าแบบพิมพ์ตะกร้า(ตัวแบบพิมพ์ทำจากท่อนไม้เป็นรูปกลมขนาดใหญ่ – เล็กตามความต้องการที่นำไปใช้ประโยชน์) เพื่อสานผนังตะกร้าต่อจากก้น โดยใช้ตอกสานเส้นกลม สานลายหนึ่ง คือข้ามหนึ่งสอดหนึ่ง โดยใช้เส้นตอกยืนเป็นหลักสานไปเรื่อย ๆจนได้ขนาดของตะกร้าตามต้องการ โดยให้เหลือส่วนปลายของตอกยืนไว้ ประมาณ 15 ซม. เผื่อไว้พับเป็นปากตะกร้าจากนั้นนำออกจากแบบพิมพ์ การล้มปาก คือการพับไม้ปากตะกร้าโดยตอกยืนที่เหลือไว้นั้น จับรวมกันจับละ 4 – 5 เส้นพันแล้วม้วนสอดเข้าตามช่องของปากตะกร้าในลักษณะเอียงล้มไปในทิศทางเดียวกันให้สวยงามและแข็งแรง ใช้ไม้คัดก้น 2 อัน สอดปลายแหลมเข้า

ที่มุมก้นตะกร้าในลักษณะไขว้กัน(เครื่องหมาย X) เพื่อให้เกิดความคงรูปแข็งแรงแล้วตอกตีน คือไม้ตรงปล้องไม้ไผ่ทำเป็นปุ่มปลายแหลมจุ่มเทียนแล้วตีเข้ามุมก้นเป็นขาของตะกร้า 4 มุม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา