ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นายประทีป แผงบุดดา วันที่ : 2017-08-29-19:22:59

ที่อยู่ : 40 ม.3 ต.โคกสีทองหลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กลุ่มเพาะเห็ดบ้านทองหลาง  เกิดจากความสนใจของผู้นำที่จะหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ จึงไปศึกษาดูงานการเพาะเห็ด และซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาทดลองเปิดดอก ๑,๐๐๐ ก้อนได้ผลดีมาก จึงศึกษาวิธีการเพาะเชื้อเห็ดและทำส่วนตัวก่อน เนื่องจากความการของตลาดมีมาก จึงมีการร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดขึ้นมาเมื่อ วันที่ ๒๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยได้เงินงบประมาณสนับสนุนส่งเสริมอาชีพ จำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท งบสนับสนุนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน   ๓๐,๐๐๐ บาทจาก องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสีทองหลาง รวมเป็นเงินทุนเริ่มต้น   ๔๕,๐๐๐ บาท จนปัจจุบันกลุ่มเพาะเห็ดบ้านทองหลางสามารถผลิตเห็ดส่งขายมูลค่ากว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการลงหุ้นของสมาชิก โดยผู้ที่จะข้ามาเป็นสมาชิกทุกคนจะต้องลงหุ้นกลับกลุ่มรายละ  ๑๐๐ บาท การทำงานของกลุ่มทุกวันจะจัดทำตารางการทำงานประจำวันของสมาชิก โดยสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนทำงานตามตารางประจำวัน และทุกวันสมาชิกที่อยู่เวรประจำวันจะนำรายรับ- รายจ่ายของแต่ละวัน แจ้งให้คณะกรรมการบัญชีทราบทุกวันในรอบปีทางกลุ่มจะมีการจัดสรรผลประโยชน์เป็นเปอร์เซ็นต์ให้สมาชิกทุกปี  ดังนี้

-          สมาชิก   ๗๕%

-          สมทบทุน ๑๐%

-          สาธารณประโยชน์  ๕%

สวัสดิการชุมชน   ๑๐%

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ขี้เลื่อยยางพารา  ๑๐๐ กิโลกรัม

รำข้าว ๑๐ กิโลกรัม

ปูนขาว  ๒  กิโลกรัม

ดีเกลือ  ๒  ขีด

ยิปซัม  ๕  ขีด

ภูไบท์  ๒  ขีด

น้ำพอประมาณ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ ๑  จัดหา/เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำก้อนเชื้อเห็ด ประกอบด้วย

ขี้เลื่อยยางพารา  ๑๐๐ กิโลกรัม

รำข้าว ๑๐ กิโลกรัม

ปูนขาว  ๒  กิโลกรัม

ดีเกลือ  ๒  ขีด

ยิปซัม  ๕  ขีด

ภูไบท์  ๒  ขีด

น้ำพอประมาณ

ขั้นตอนที่ ๒ นำส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากันโดยอย่าให้เปียกเกินไป (สังเกตโดยใช้มือกำส่วนผสมให้แน่แล้วปล่อย ถ้าส่วนผสมจับกันเป็นก้อนไม่แยกจากกันแสดงว่าเปียกเกินไป ถ้าส่วนผสมไม่จับกันแสดงว่าแห้งเกินไป ถ้าส่วนผสมจับกันเป็นก้อนแต่แยกจากกันเป็นสองข้างถือว่าใช้ได้) นำขี้เลื่อยที่ผสมแล้วบรรจุลงในถุงๆละประมาณ ๑ กิโลกรัม อัดให้แน่นพอประมาณ แล้วใช้คอขวดรัดยางให้แน่นพร้อมปิดจุก

ขั้นตอนที่ ๓ นำก้อนขี้เลื่อยที่เสร็จแล้วไปนึ่งอบไอน้ำที่อุณหภูมิ ๑๐๐ องศาเซนเซียส นานประมาณ ๔ ชั่วโมง เมื่อนึ่งเสร็จแล้ว นำก้อนขี้เลื่อยที่นึ่งแล้วมาพักไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท ประมาณ ๕ ชั่วโมง จึงนำเชื้อเห็ดคอนดำมาหยอดใส่ในถุงก้อนขี้เลื่อยแล้วปิดด้วยสำลีและปิดกระดาษหุ้มอีกชั้นหนึ่ง นำถุงที่หยอดเชื้อแล้วไปพักไว้ที่โรงเรือนพักเชื้อ ประมาณ ๓๕ – ๔๐ วัน เพื่อให้เชื้อเดินเต็มถุง

ขั้นตอนที่ ๔  เมื่อครบ ๓๕ – ๔๐ วัน หรือเมื่อเชื้อเดินเต็มถุงให้นำก้อนเชื้อเห็ดไปวางในโรงเรือนเพาะเห็ดเพื่อเปิดดอก โดยรดน้ำเช้าเย็น รอเก็บดอกโดยเห็ดจะออกดอกหลังจากนำมาวางในโรงเรือนประมาณ ๓-๕ วัน

ข้อพึงระวัง ->

เน้นเรื่องความสะอาดในการหยอดเชื้อเห็ด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา