ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สานสุ่มไก่

โดย : นายสา พันธุ์หอม วันที่ : 2017-08-28-10:37:24

ที่อยู่ : 16 ม.10 ต.วังไชย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา   เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตมนุษย์มาช้านาน จัดเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดประเภทหนึ่ง เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยการดำรงชีวิตของมนุษย์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ก่อกำเนิดขึ้นมาจากชีวิตความเป็นอยู่ระดับพื้นบ้าน ในสังคมชนบทภาคเกษตรกรรม จะใช้ช่วงเวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนา เลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาผลิตงานหัตถกรรมด้วยใจรัก เพื่อความสุข ความเพลิดเพลิน ตลอดจนสนองประโยชน์ใช้สอยต่อตนเองและครอบครัว และวิวัฒนาการเรื่อยมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งต่อกันไป เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม น่าใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือใช้สอยในพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ เป็นมรดกสืบทอดอันยาวนานจนกลายเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความงามบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกของความคิดที่เฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยแท้

วัตถุประสงค์ ->

สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาต่อยอดให้เกิดรายได้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุที่ใช้ในการผลิตผลงาน
๑.   ไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่สีสุก
๒.   เถาวัลย์ หรือเชือกพลาสติก
  แหล่งที่มาของวัสดุ
    ในท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม
  เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
๑.   มีดเหลาตอก
๒.  มีดอีโต้ สำหรับผ่าไม้ไผ่
๓.  ขวาน และเลื่อยโค้ง

อุปกรณ์ ->

  เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
๑.   มีดเหลาตอก
๒.  มีดอีโต้ สำหรับผ่าไม้ไผ่
๓.  ขวาน และเลื่อยโค้ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนกระบวนการผลิตและวิธีทำ
  ขั้นเตรียมการ

มีขั้นตอนต่างๆ  ได้แก่  
๑.  ตัดไม้ไผ่บ้าน ลำแก่ๆ  เพราะจะมีความทนและผิวไม้แข็งดี
๒.  ตัดไม้ไผ่บ้านเป็นท่อน ๆ ท่อนละ  ๑.๕๐ เมตร.
๓.  เมื่อตัดไม้ไผ่เป็นท่อน ๆ แล้ว  นำมาเหลาตาและข้อของไม้ไผ่ออกให้หมด
๔.  ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซีกๆ  และเหลาแต่ง
๕.  นำไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นซีก ๆ   มาจักตอกเป็นเส้น ๆ   ตามขนาดของงานสาน
๖.  นำเส้นตอก มาเหลาแต่งเป็นตอกยืน และตอกสาน  เหลาเนื้อด้านในของไม้ไผ่ออกเกือบทั้งหมด   ให้เหลือผิวไม้ไผ่ด้านนอก เพราะผิวไม้ไผ่ด้านนอกจะมีความทนทาน
  ขั้นตอนการผลิต 
          มี  ๒  ตอน  คือ  
          ตอนที่  ๑   การสานไซ ปลอกห้า  สองงา

๑.   เมื่อเหลาตอกยืน เป็นเส้นๆ จำนวน  ๑๐๐ เส้น เสร็จแล้ว  นำเชือกมัดส่วนหัว ไว้ให้แน่น   เหลือตอกไว้  ประมาณ  ๓ นิ้ว    และหันส่วนปลายเข้าหาตัว  ดัดตอกทีละเส้นให้เป็นเกลียว หันออกไปทางด้านหน้า  เมื่อดัดตอกทุกเส้นเสร็จแล้ว  นำเชือกมาสานเพื่อยึดไม่ให้ไม้ไผ่ที่ดัดไว้ขยับเขยื้อน 
๒.    ใช้ตอกสาน   เสียบลงที่ตอกยืนเว้นตอกยืน ๒ เส้น   แล้วเสียบตอกสาน   จำนวน  ๕ เส้น    ตอกสาน ๕ เส้น นี้ เรียกว่า  ไซปลอกห้า  
 ๓.   เมื่อเสียบตอกสานเสร็จแล้ว  สานตัวสองขัดหนึ่ง  ยกตอกยืนสี่เส้น   ตัวหลัง ยกตอกยืนห้าเส้น   สานในลักษณะนี้ไปจนกระทั่งสุดเส้นตอกสาน  เมื่อตอกสานหมดเส้น  จึงเสียบตอกสานเส้นใหม่   แล้วสานไปจนกระทั่งสุดปลายของปากไซ
๔.    นำไม้ไผ่เหลาแบน ใหญ่ประมาณ ๑ นิ้ว  นำมามัดใส่ที่ไซ ใช้เชือกมัดให้แน่นเพื่อสำหรับเจาะรู ใส่งา  และขอบส่วนนี้สำหรับยึดงาให้แน่น
            ตอนที่  ๒  การสานงา  ใส่ไซ
๑.    วางตอกเหลาแบนที่พื้น จำนวน  ๔ เส้น   ใช้เท้าเหยียบให้แน่น ไม่ให้ขยับเขยื้อน  นำตอกสานเส้นเล็ก   สานสลับไปมาจนกระทั่งได้ขนาดของชิ้นงาน
๒.    นำส่วนปลายของงาที่สานเสร็จแล้ว   มารวบปลายเข้าหากันและใช้ตอกส่วนปลายสานเป็นลายขัด  
๓.    นำมีดคมๆ  ตัดไซ ส่วนที่จะใส่งา  ตัดให้เท่ากับขนาดของปากงา  
๔.    เมื่อตัดเสร็จใช้มีดง้างเพื่อให้มีช่อง  แล้วเสียบส่วนแหลมของงาเข้าไป ให้ขอบพอดีกับขอบของไซ
๕.    มีดตัดตอกยืนของงา   ส่วนปลาย  ตัดให้แหลม และเสียบขัดที่ตัวไซ  เพื่อยึดงา ให้ติดกับไซให้แน่น   เหลาไม้ไผ่กลมทำปลายแหลมทั้งสองด้าน  เสียบยึดฐานงาติดกับไซให้แน่นอีก  ๑  ชิ้น
๖.    ส่วนขอบงาและขอบไซนำเชือกมัดยึดให้แน่น  (ทำเหมือนกันทั้งสองงา)

ข้อพึงระวัง ->

๑.การคัดเลือกไม้ไผ่

๒.การจักตอก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา