ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลาร้าหมัก

โดย : นางทองม้วน ศรีทัดยศ วันที่ : 2017-07-30-23:15:49

ที่อยู่ : ๒๒๙ หมู่ที่ ๑ ต.เหล่าบัวบาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำปลาร้าเป็นภูมิปัญญาที่ชาวอีสานสืบทอดวิธีการมาตั้งแต่สมัยโบราณ  สมัยอดีตหมู่บ้านประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร  ประกอบกับมี หนองน้ำสาธารณะใกล้หมู่บ้าน ชาวบ้านนอกจากประกอบอาชีพทำนาแล้วก็หาปลาเป็นอาชีพเสริม ได้ปลามามากมายจึงคิดค้นวิธีการเก็บถนอมอาหารไว้ให้นานที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าวชาวอีสานเรียกว่าการทำปลาร้า    

วัตถุประสงค์ ->

๑. เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาการทำปลาร้าหมัก

๒. เพื่อรวมกลุ่มกัน บริหารจัดการ ส่งเสริมอาชีพ

๓. เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อเสียงให้กับตำบล/อำเภอ เนื่องจากมีมาตรฐาน อย. และ เป็น OTOP ห้าดาวอันเลื่องชื่อ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1. ปลา ส่วนมากปลาที่ใช้ทำเป็นปลาน้ำจืดที่หาได้ในท้องถิ่น และเป็นปลาประเภทที่ไม่มีเกล็ด   (เช่นปลาเนื้ออ่อน) เนื่องจากว่าปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดจะมีพยาธิอยู่น้อยกว่าปลาที่มีเกล็ด (เช่น ปลาตะเพียน ปลาช่อน)    แต่ปลาประเภทมีเกล็ดก็สามารถทำได้แต่ต้องขอดเกล็ดออก ให้หมดก่อน  ปลาประเภทนี้นำมาทำปลาร้าจะมีรสชาดดี

 2. เกลือ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำปลาร้า เกลือที่ใช้ส่วนมากเป็นเกลือดิบ (มีลักษณะเป็นก้อนสีออกน้ำตาลเล็กน้อย  ก่อนทำต้องมาทุบให้เป็นก้อนเล็กๆ) ซึ่งจะมีรสชาดเค็มจัดกว่าเกลือที่เราใช้ในครัวเรือน (เม็ดละเอียดสีขาว) ซึ่งถ้าเราใช้เกลือขาวจะต้องใช้จำนวนมากกว่า และรสชาดจะไม่ดีเท่าเกลือดิบ

 3. รำ ก็เป็นส่วนผสมที่สำคัญที่อีกอย่างที่จะทำให้สีและกลิ่นของปลาร้าดูน่ารับประทาน อัตราส่วนใน    การใส่ก็ไม่มีจำกัดขึ้นอยู่กับว่าใครอยากได้ สีเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน และอีกอย่างถ้าใส่รำมากจะทำให้ปลาร้าเหนียวข้นขึ้น แต่ก่อนสีของปลาร้าเกิดจากการใช้ดินประสิวประสมทำให้ปลาร้า ออกสีแดงน่ารับประทาน       แต่ในปัจจุบันพบว่าถ้ารับประทานดินประสิวเข้าไปมากอาจก็ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาใช้รำข้าวแทน

       

 

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปลาร้า หรือปลาแดก  ในภาษาอีสานหมายถึง การดันหรือยัดเข้าไปข้างในอีกสิ่งหนึ่ง  โดยปลาร้า     มักทำจากปลาน้ำจืดขนาดเล็ก  เช่น  ปลาสร้อยขาว  ปลากระดี่  มาคลุกกับรำข้าวและเกลือ  แล้วบรรจุ   ใส่ไห โดยทั่วไปจะหมักไว้  7-8 เดือน  จึงนำมารับประทานได้  เคล็ดลับคือ  ใช้ปลาสดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ  ใช้การหมักแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นหมักคลุกเคล้ากับเกลือและรำ  หมักในไหมังกร  ทิ้งไว้ 6 เดือน - 1 ปี  จะให้ได้ปลาร้าที่รสชาติอร่อย  มีกลิ่นหอม  สะอาด     

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา