ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทอผ้าสไบขิด

โดย : นางบุบผา ศรีภูวงษ์ วันที่ : 2017-06-03-20:38:16

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

โดยพื้นฐานของสตรีในหมู่บ้าน มีความรู้ ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมมัดหมี่จากบรรพบุรุษ แต่โอกาส
ในการทอผ้าไหม จะทำเมื่อต้องการใช้ในครัวเรือนเท่านั้นไม่มีการนำออกมาจำหน่าย นานๆจะมีลูกค้ามาถามซื้อจากนั้น 
กลุ่มเกิดแนวความคิดหาจุดยืนในการผลิตผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม จึงมีมติให้การทอผ้า เป็นผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม
                    ในปี 2553  กลุ่มสตรีในหมู่บ้านได้เข้ารับการอบรมการทอผ้าฝ้ายสไบขิด จากองค์การบริหารส่วน
ตำบลพระธาตุ ในการอบรมการทอผ้าสไบขิด เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้เสริมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น จึงมีการพากลุ่มไปศึกษาดูงานและเรียนรู้ด้านการทอผ้าฝ้ายสไบขิด ที่อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด และกลุ่มได้กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านลวดลายสีสันตามความต้องการของตลาดปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 30  คน  เงินทุนของกลุ่ม  30,000  บาท  
 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 ผ้าฝ้าย

อุปกรณ์ ->

1 กี่ ฟืม กระสวย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.    การเลือกซื้อด้าย ก่อนที่จะทำสิ่งอื่นใดในการทอผ้าลายขิด เราจะต้องทำการเลือกซื้อด้ายสีต่างๆ ตามที่เราชอบ เช่น สีเหลือง สีส้ม สีชมพู สีดำ สีฟ้า แต่สีที่จะขาดไม่ได้คือสีขาว ที่ใช้เป็นสีพื้นตามความกว้างความยาวของหูก ตามที่เราต้องการ
2.    การกวักด้าย นำด้ายใส่ลงไปใน "กง" กวักด้ายออกจากกงให้เข้าไปอยู่ในอักโดยการหมุนอักไปเรื่อยๆ 
ด้ายจากกงก็จะเคลื่อนที่ออกมาเข้าสู่อักตามต้องการ เมื่อกวักด้ายเสร็จแล้ว เราก็จะได้ด้ายไปอยู่ในอักหลายๆ อัก
3.    การค้นหูก เป็นขั้นตอนของการนำด้ายออกจากอักใส่ลงในไม้หลักเผือ เพื่อให้ได้ความยาวของหูกตามที่ต้องการ โดยนำด้ายใส่ลงในเดือยของหลักเผือวนจากซ้ายไปขวาไปมาเรื่อยๆ จนได้ความยาวตามต้องการ
4.    การปั่นหลอด เป็นการปั่นด้ายจากกงใส่หลอด บรรจุในกระสวย เพื่อทำการทอเป็นด้ายเส้นพุ่ง
5.    การสืบหูก เป็นการนำด้ายที่ค้นหูกเรียบร้อยแล้วมาต่อเข้ากับเขาหูก ด้วยการใช้นิ้วมือหมุนปลายด้ายให้พันติดกัน โดยใช้ข้าวสุกช่วย
6.    การกางหูก หลังจากเตรียมสิ่งต่างๆ แล้ว ก็ถึงขั้นกางหูก ส่วนใหญ่นิยมกางใต้ถุนบ้านเพื่อสะดวกในการทอหูก ไม่ต้องกลัวฝนตก แดดออก ทอได้ตลอดเวลา

7.    การทอ ผู้ทอเข้าประจำที่ใช้เท้าเหยียบ เข้าก้านสวยอยู่ทางด้านใดก็ให้เหยียบทางด้านนั้น คือถ้าก้านสวยอยู่ทางด้านซ้ายก็ใช้เท้าซ้ายเหยียบ ถ้าก้านอยู่ด้านขวาก็ใช้เท้าขวาเหยียบ จะทำให้ไหมที่อยู่ระหว่างฟืมกับผู้ทอแยกเปิดช่องสำหรับให้ก้านสวยผ่านไปได้ มือขวาก็กระตุกให้ก้านสวยผ่านเส้นไหมพุ่งไปยังด้านตรงข้าม มือซ้ายก็จะดึงฟืมให้กระทบเข้ามาตัวผู้ทอผ่อนให้ที่เหยียบมีน้ำหนักเท่าๆกัน 
               ดันฟืมไปข้างหน้าให้ชิดกับตะกอ กระตุกก้านสวยให้กลับทางเดิมก่อนที่จะกระตุกนั้นจะต้องเหยียบไม้เหนียบด้านที่ก้านสวยอยู่เสียก่อน แล้วดึงฟืมให้กระทบเข้าหาตัวเรา ทำให้เนื้อผ้าแน่น
 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา