ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานหวาย

โดย : นายสมพงษ์ พิมพ์จ่อง วันที่ : 2017-07-24-11:28:11

ที่อยู่ : 51 บ้านหัวช้าง หมู่ที่ 14 ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังจากจบการศึกษาภาคบังคับได้เข้าไปเป็นสาวโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์  หลังจากที่ลาออกจากโรงงานมาอยู่ที่บ้านจึงมีความคิดที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการทำเฟอร์นิเจอร์จากการทำงานในโรงงานมาเผยแพร่และถ่ายทอดให้คนในหมู่บ้านทำเป็นอาชีพเสริม  โดยการรวมกลุ่มกันทำงานด้านการจักสาน  เช่น  สานสุ่ม  สานตะกร้า  สานสวิง  สานไม้กวาดทางมะพร้าว ฯลฯ  และยึดเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในหมู่บ้านเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อลดรายจ่าย  - เพื่อเพิ่มรายได้    - เพื่อรักษาสุขภาพของผู้บริโภค  - เพื่อทำเป็นอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กก ใบตาล ใบลาน หวาย ไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

มีด  เหล็กหมาด  คีมไม้  เครื่องยิง  ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การสานหลังจากเตรียมวัตถุดิบ ในการทำงานจักสานแล้วก็ถึงขั้นลงมือสาน ช่างสานจะต้องรู้ว่า ควรใช้ลายสานแบบใด สำหรับเครื่องจักสานแต่ละชนิดเช่น ป้าน
น้ำชาใช้ลายหนึ่ง กระบุงใช้ลายสาม กระด้งใช้ลายขอ ช่างจักสานที่มีความชำนาญมากจะสามารถสานลายต่างๆได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว เป็นระเบียบ และสวย

ลวดลายในการจักสานแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ลักษณะคือ
 

1. ลวดลายพื้นฐาน ถือเป็นลายแม่บท สำหรับการสานทั่วไป มี 6 ลาย คือ
     1.1 ลายขัด                1.2 ลายสอง               1.3 ลายสาม
     1.4 ลายตาหลิ่ว           1.5 ลายขอ                1.6 ลายบองหยอง
2. ลวดลายพัฒนา เป็นลายที่ช่างจักสานในอดีตได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมา ที่ปรากฏทั่วไป มี 5 ลาย คือ
     2.1 ลายบ้า                2.2 ลายดีด้าน             2.3 ลายเฉลาเกล็ดเต่า

     2.4 ลายดอกขิง           2.5 ลายดีหล่ม
3. ลวดลายประดิษฐ์ เป็นลวดลายที่คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นเป็นลักษณะเฉพาะของช่าง

ข้อพึงระวัง ->

ขนาดตอกหรือหวายที่จะนำมาจักสานควรมีขนาดเท่ากัน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา