ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกผัก

โดย : นางกูล แสงจันทร์ วันที่ : 2017-05-27-11:15:38

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๐๘ หมู่ ๑๓ ตำบลกุดรัง อำเภอ กุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นางกูล แสงจันทร์ กล่าวว่าแต่ก่อนไม่ค่อยจะปลูกผักไว้กิน เพราะคิดว่าไม่คุ้มกับเวลาที่ต้องเสีย แค่ซื้อกินไม่กี่บาท ใช้เวลาในการทำงานหาเงินดีกว่า จนกระทั่งได้เริ่มทำบัญชีครัวเรือน ถึงได้ว่า ที่คิดว่าซื้อกินไม่กี่บาท พอรวมๆ แค่ค่าผักนี่เกือบหนึ่งพันบาท อีกอย่างที่ร้ายแรงไปยิ่งกว่า คือการได้ไปเห็นกระบวนการปลูกและดูแลผักของคนที่ปลูกขาย ซึ่งฉีดยาฆ่าแมลงและใช้สารเคมีเยอะมาก จากนั้นก็เริ่มปลูกผักไว้กินเอง โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีใดๆ เพราะต้องการกินผักปลอดสาร การดูแลผักไม่ให้แมลงหรือหนอนมารบกวนก็ใช้วิธีแบบธรรมชาติ แสวงหาวิธีไล่แมลงจากผู้ที่มีประสบการณ์ พอมีคนในหมู่บ้านทราบว่าเราปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี เป็นผักปลอดสารแท้ ก็มีลูกค้ามาขอซื้อ แรกๆ ก็ไม่ค่อยได้ขายเพราะยังปลูกไม่เยอะ พอมีคนมาถามซื้อก็เลยเริ่มขยายแปลงปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วัตถุประสงค์ ->

ปลูกผักเพื่อกินเอง และขายให้คนในหมู่บ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยคอก น้ำหมัก

อุปกรณ์ ->

จอบ เสียม  ผ้าสแลนด์ สายยาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกผักต้องมีการวางแผน เนื่องการปลูกผัก ผักแต่ละชนิดใช้ระยะเวลาการปลูกไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงการวางแผน คำนวณว่าผักแต่ละชนิดที่จะปลูกใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่จึงจะสามารถเก็บได้ ผักชนิดใดไม่สามารถปลูกได้ในช่วงใด เพื่อกำหนดการปลูก ปลูกอะไรบ้าง ปลูกช่วงใด จะเก็บช่วงใด จะได้มีผักไว้กินตลอดปี แต่ต้องคำนึงด้วยว่ามีน้ำเพียงพอใช้ปลูกดตลอดทั้งหรือไม่ ถ้าน้ำน้อยก็ปลูกผักพวกที่ต้องใช้น้ำมากตอนหน้าฝน กระบวนการวิธีการขั้นตอนการปลูกผัก ผักแต่ละชนิดก็มีวิธีการปลูกที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยกระบวนการรวมๆ มีดังนี้

-       เตรียมแปลงเพื่อเพาะเมล็ดหรือเพาะต้นกล้า ขุดแปลงตากแดดไว้ซัก ๑ วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกลงในแปลงเกลี่ยให้ดินสม่ำเสมอ

-       หว่านเมล็ดผักให้สม่ำเสมอ รดน้ำให้ชุ่ม และรดน้ำทุกวันจนกว่าต้นกล้าผักจะได้ขนาดที่จะแยกไปลงแปลงปลูกได้

-       พอต้นกล้าได้ขนาดก็แยกไปปลูกในหลุมหรือแปลง ตามแต่ชนิดของผัก แต่ผักบางชนิดไม่ต้องนำต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูก แต่ปล่อยให้ต้นกล้าโตเลย เช่น ผักบุ้ง ผักชี เป็นต้น

-       ดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยคอก พอผักโตได้ขนาดก็เก็บได้ ผักแต่ละชนิดใช้ระยะเวลาการปลูกไม่เท่ากัน ก็สังเกตุว่าผักขนาดอย่างไรรับประทานอร่อยก็เก็บได้เลย

ข้อพึงระวัง ->

        ระวังเรื่องแมลง เพลี้ย หนอน หากมีก็กำจัดด้วยวิธีที่ไม่ใช้สารเคมี เช่น ใช้น้ำใบสะเดา น้ำยาฉุน ฉีดไล่แมลง และต้องระวังเรื่องสภาพอากาศ หากเป็นช่วงระยะอากาศร้อนแดดแรง ใช้ผ้าสแลนด์บังแดด เพื่อป้องกันผักถูกแดดเผาใบผักจะลวก

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา