ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงกบ

โดย : นายรอง ผายพิมพ์ วันที่ : 2017-05-22-23:31:54

ที่อยู่ : 57 บ้านหัวขัว หมู่ที่ 9 ตำบลกุดรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กบเป็นอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์ มักจะเจอตามลำห้วย หนอง บึง ท้องนา  แต่ด้วยทุกวันนี้มีการใช้สารเคมีในการเกษตร มีโรงงานเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศที่กบเคยอาศัยอยู่ได้เปลี่ยนไป  อีกทั้งความต้องการบริโภคกบก็สูงขึ้น ทำให้การจับกบไม่ได้คำนึงถึงว่าจะต้องปล่อยให้ตัวเล็ก ๆ ได้มีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป จับมาขายทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทำให้จำนวนกบตามธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อย ๆ  จึงมองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้จากความต้องการกบเพื่อการบริโภค เพราะกบเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ใช้เวลาไม่มาก ลงทุนน้อย และคุ้มค่า มีการทำฟาร์มเลี้ยงกบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ การเลี้ยงกบในขวด การเลี้ยงกบคอนโด แบบบ่อซีเมนต์ ฯลฯ และก็มีบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากยังขาดข้อมูลสำคัญอยู่ เช่น นิสัยใจคอของกบ พื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกบ

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อลดรายจ่าย  - เพื่อเพิ่มรายได้    - เพื่อรักษาสุขภาพของผู้บริโภค  - เพื่อทำเป็นอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หัวอาหาร  ปลายข้าว  ผักต่าง ๆ 

อุปกรณ์ ->

บ่อซีเมนต์  ไม้ทำเสา  อวนสีเขียว  ทางมะพร้าวแห้ง  จอบ  เสียม  กระบอกไม้ไผ่  กระบะไม้  กะละมังแตก  ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงกบในคอก

เมื่อปรับพื้นที่ราบเรียบเสมอกันแล้ว ขุดอ่างน้ำไว้ตรงกลางคอก เช่น คอกขนาด 4 x 4 เมตร

ขนาด 6 x 6 เมตร หรือขนาด 8 x 8 เมตร ต้องทำแอ่งน้ำขนาด 2 x 3 เมตร มีความลึกประมาณ 20 ซม. เป็นบ่อซีเมนต์และลาดพื้นแอ่งน้ำเป็นพื้นที่ชานบ่อทั้ง 4 ด้าน ขัดมันกันรั่ว ใส่ท่อระบายน้ำจากแอ่งขนาด 0.5 นิ้ว รอบๆ แอ่งน้ำเป็นพื้นที่ชานบ่อทั้ง 4 ด้าน เพื่อสะดวกต่อการให้อาหารและที่กบได้พักอาศัย รอบ ๆ คอกปักเสาทั้ง 4 ด้านให้ห่างกัน ช่วงละ 2 เมตร นำอวนสีเขียวมาขึงรอบนอก นำทางมะพร้าวแห้งมาพาดให้เต็มแต่อย่าแน่นเกินไป แล้วหากระบะไม้ กะละมังแตก หรือกระบอกไม้ไผ่อันใหญ่ๆ มาวางไว้ในคอกเพื่อให้กบหลบซ่อนตัวในเวลากลางวัน ส่วนกระบะหรือลังไม้ที่นำมาวาง ให้เจาะประตูเข้าออกทางด้านหัวและท้ายเพื่อสะดวกต่อการจับกบจำหน่ายการทำคอกเลี้ยงกบแบบนี้ มีอัตราปล่อยกบลงเลี้ยง คือ

  1. คอกขนาด 4 x 4 เมตร ปล่อยกบลงเลี้ยงได้ไม่เกิน 1,000 ตัว

  2. คอกขนาด 6 x 6 เมตร ปล่อยกบลงเลี้ยงได้ไม่เกิน 1,200 ตัว

  3. คอกขนาด 8 x 8 เมตร ปล่อยกบลงเลี้ยงได้ไม่เกิน 2,500 ตัว

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนกบโต

การให้อาหารกบควรจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ เวลา 07.00 น. และ 17.00 น. โดยให้ปริมาณอาหารเท่ากับ 10 % ของน้ำหนักกบ เช่น กบในบ่อมีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม ควรให้อาหาร 10 กิโลกรัม

อาหารของกบมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าผู้เลี้ยงสามารถหาอาหารแบบใดได้

  1. เนื้อปลาสับ

  2. ปลายข้าว 1 ส่วน ผักบุ้ง 2 ส่วน ต้มรวมกับ เนื้อปลา เนื้อหอยโข่ง หรือปู

  3. เปิดไฟล่อให้แมลงมาเล่นไฟแล้วตกลงในบ่อเลี้ยง แต่ผลเสียคือ แมลงอาจจะมีพิษหรือแมลง

มียาฆ่าแมลงตกค้าง ทำให้กบตายได้

ข้อพึงระวัง ->

การให้อาหารช่วงเช้า 07.00 น. ต้องมีการเก็บภาชนะไปล้างประมาณเวลา 10.00 น. เพื่อป้องกันอาหารบูด ส่วนอาหารเย็น 17.00 น.ไม่ต้องเก็บภาชนะไปล้าง เพราะว่ากลางคืนอาหารจะไม่บูดเสีย และธรรมชาติของกบจะหากินตอนกลางคืน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา