ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

มัดหมี่

โดย : นางนารี แก้วหล่อน วันที่ : 2017-05-22-22:23:28

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๕ หมู่ ๑๐ ตำบลกุดรัง อำเภอ กุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นางนารี แก้วหล่อน เคยได้เห็นคุณแม่คุณยายมัดหมี่มาตั้งแต่เด็ก จึงขอลองและหัดมัดหมี่จนเป็น และพอมัดบ่อยขึ้นก็สามารถมัดได้หลากหลายและแกะลายต่างๆ ได้ จนคนอื่นเห็นว่าฝีมือการมัดหมี่ จึงมาว่าจ้างให้มัดหมี่ให้ ก็เริ่มรับจ้างและมัดของตัวเองด้วย อีกทั้ง ก็มักจะมองหาหรือคิดค้าลายที่แตกต่างไปเรื่อย และปัจจุบันนี้ก็ยึดการมัดหมีเป็นอาชีพรอง รองจากการทำนาทำไร่

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว     และเพือสืบทอดภูมิปัญญา
ของบรรบุรุษ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 ไหม เชือกฟาง สีย้อม  

อุปกรณ์ ->

กี่ ด้าย  กง อัก หลักหมี่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-       ค้นหมี่ แต่ก็ค้นต้องฆ่าฝ้ายหรือไหมก่อน คล้องฝ้ายหรือไหมใส่กงแล้วถ่ายเส้นไปพันรอบอัก ตั้งอักถ่ายเส้นพันรอบหลักหมี่ โดยนำเส้นไหมหรือฝ้ายพันรอบหลักหมี่ ๑ คู่ นับจำนวนเส้นให้สัมพันธ์กับลายหมี่ที่จะมัด จากนั้นจึงทำการมัดหมี่กลุ่มเส้นฝ้ายหรือไหมในหลักหมี่

-       การมัดหมี่  ๑) มัดกลุ่มฝ้ายหรือไหมแต่ละลูกหมี่ด้วยเชือกฟาง จนครับหลักหมี่ ทำเป็นเชิงฝ้า  ๒) การเริ่มต้นลายมัดหมี่ อาจมัดจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่าง หรือมัดข้างล่างก่อนจึงไล่ขึ้นบน จึงขยายออกไปเต็มหลักหมี่ ๓) เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลูกหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับกันให้แน่น เพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามลายหมี่แล้วมัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกัน ให้เหลือปลายเชือกไว้เวลาแก้จะทำได้ง่าย ๔) เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้างหนึ่ง ผูกกลุ่มฝ้าย/ไหม ไว้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับเวลาย้อม ถอดฝ้าย/ไหม ออกจากหลักหมี่ แล้วนำไปย้อมสี แล้วก็นำมาแก้ปอมัดหมี่ และสุดท้ายปั่นใส่หลอด เพื่อเตรียมไว้สำหรับการทอ

ข้อพึงระวัง ->

ควรพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับกันให้แน่น เพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่

รูปประกอบ -> image1 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา