ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สานสุ่ม

โดย : นายเติม ไวยพัฒน์ วันที่ : 2017-08-28-09:48:50

ที่อยู่ : 46 ม. ต.กุดใส้จ่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บรรพบุรุษ ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอเสื่อกกเพื่อให้ลูกหลานได้ทำไว้ใช้ในครัวเรือน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของเครื่องใช้ และสุ่มไก่ก็เป็นสินค้า otop จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง ต่างจังหวัดทั่วประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาต่อยอดให้เกิดรายได้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          ไม้ไผ่บ้านสำหรับทำตอก  (ตอกสาน  ตอกยั้ง  (ตอกยืน)  ตอกผ่าน และตอกกกาวตีน  วงข้อง)

อุปกรณ์ ->

มีดอีโต้ มีดตอก สิ่ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการสานสุ่มไก่ลายขัด

  ขั้นเตรียมตอกชนิดต่าง(ตอกสาน  ตอกยั้ง  (ตอกยืน)  ตอกผ่าน และตอกกกาวตีน  วงข้อง)

ขั้นสาน

2.1  ขั้นทำวงข้อง  ด้วยการขมวดให้ตอกเป็นวงกลมให้ปลายเส้นตอก  ด้านหนึ่งโผล่ยาวออกมาจากวงข้อง  แล้วใช้ตอกด้านที่โผล่ออกมาสอดขึ้นลงสลับกันไปตามวงข้อง  ให้ครบ  3  รอบใช้สำหรับก่อทำจอมสุ่มไก่

2.2  เรียงตอกยั้ง  เป็นการสอดตอกยั้งเข้าไปในวงข้อง  ซ้อนทับกันไปเรื่อย ๆ จนรอบวงข้องโดยให้กึ่งกลาง  ของตอกยั้งแต่ละเส้นอยู่ติดริมขอบวงข้องพอดี  จัดระยะห่างของตอกยั้งให้เท่ากัน  การเรียงตอกยั้ง จะเรียงจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้แล้วแต่ถนัด2.3  ตอกยั้งที่เรียงเสร็จแล้วจะมี  2  ชั้น  หรือ  2 วง  คือ  ชั้นบนและชั้นล่างซึ่งปลายตอกยั้งจะชี้ไปบนทิศทางที่ตรงข้ามกัน

2.4  การขัดตอกยั้ง  จะเริ่มตรงคู่ใดก่อนก็ได้  โดยการยกตอกยั้งที่อยู่ชั้นล่างขึ้นมาขัดทับเส้นตอกที่อยู่ชั้นบน  ขัดเวียนไปเรื่อย ๆ จนครบทุกคู่แล้วจึงขัดรอบที่  2  ต่อ

2.5  ตอกยั้งที่ขัดครบ 2  รอบแล้ว

2.6  การสานเวียนหรือการใส่เวียนโดยให้ตอกสานอยู่กึ่งกลางระหว่างตอกยั้งขั้นบนและชั้นล่าง

2.7  สานเวียนแล้วขัดตอกยั้งไปด้วย  เพื่อมิให้ตอกที่สานเวียนดีดตัวออก

2.8  การใส่ตอกเฮี้ย เมื่อสานเวียนครบ  2  รอบแล้วจะทำให้ตอกสานข้ามตอกยั้ง  2  เส้นซึ่งจะทำให้ไม่สามารถสานแยกตอกเป็นลายขัดได้  จึงต้องใส่ตอกเฮี้ยระหว่างตอกยั้ง  2  เส้นนั้นโดยให้ตอกเฮี้ยอยู่ด้านบนตอกสาน  แล้วจึงเริ่มสานแยกตอกต่อไป2.9  สานแยกตอกหรือสานลายขัดรอบที่  1  แล้ว2.10  กลับด้านเพื่อเตรียมสานให้โค้งขึ้นเป็นรูปสุ่มไก่

2.11  นั่งสานด้านในโดยควบคุมให้สุ่มไก่โค้งขึ้นด้วยการดึงตอกสานและตอกยั้งเข้าไปด้านในที่ละนิด

2.12   สานให้โค้งขึ้น  ให้ได้รูปพอประมาณก่อนที่จะออกไปนั่งสานด้านนอก

2.13  นั่งสานด้านนอกเพื่อทำตัวสุ่มไก่ให้สมบูรณ์ด้วยการสานลายขัด

2.14  สานตัวสุ่มไก่ให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วใส่ตอกพ่านโดยการสานให้ตอกสานเรียงชิดติดกัน 4 – 6  รอบ

2.15  ใส่ตอกกลมตีนด้วยการสานลายกลมสาม ด้วยตอกกลมตีน 3 เส้น สานเวียนสลับกันไปเรื่อย ๆ จำนวน 1 – 3  รอบ

2.16  การใส่ตอกกลมตีนหรือการสานตีนด้วยตอกกลมตีน

3.  ขั้นตกแต่ง

3.1  นำสุ่มไก่ที่สานเรียบร้อยแล้วไปตัดตีนสุ่มไก่  ด้วยการตัดตอกยั้งที่เหลือจากการสานเพื่อทำให้ ตีนสุ่มไก่เรียบเสมอกัน  ตัดปลายตอกยั้งที่โผล่ยาวออกมาให้เหลือประมาณ  1  นิ้ว โดยวัดจากริมขอบของตอกกลมตีน3.2  สุ่มไก่ที่ตัดตีนเรียบร้อยแล้ว เตรียมนำไปอบ

1.3     ติดไฟแล้วนำสุ่มไก่ไปวาง  กะระยะให้จอมสุ่มไก่อยู่ตรงกลางเตาอบพอดีแล้วใช้ผ้าคลุมให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันมิให้ควันไฟออก เตรียมจำหน่าย

 

ข้อพึงระวัง ->

เส้นตอกแต่ละอย่างต้องขนาดเสมอกัน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา