ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายสมโภชน์ เสาวรส วันที่ : 2017-05-31-00:47:42

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 94 หมู่ 4 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 นายสมโภชน์ เสาวรส มีอาชีพเกษตรมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ทำหมุนเวียนทั้งปี ผลผลิตในบางปีก็ได้มากบางปีก็น้อยแล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้บางปีได้กำไรมาก แต่บางปีกลับขาดทุน รายได้ส่วนใหญ่จะนำไปใช้หนี้ที่กู้มาลงทุน ทำให้หมุนเวียนในวัฏจักร ยืมเงินมาลงทุน พอขายก็ใช้หนี้ที่ยืมมา เหลือเงินเพียงเล็กน้อย ถ้าหากคิดเป็นค่าแรงงานในครัวเรือนก็อาจจะขาดทุน จึงคิดหาวิธีการหรือรูปแบบการเกษตรที่พ้นจากห่วงโซ่หนี้นั้น และจึงได้สนใจการทำเกษตรผสมผสาน อย่างโครงการทำหนึ่งไร่ได้หนึ่งแสน แล้วเริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง รัชกาลที่ ๙ และเริ่มทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยการแบ่งพื้นที่ปลูกข้าวและพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังลงส่วนหนึ่ง แล้วทดลองทำเป็นไร่นาสวนผสมตามเกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้สัดส่วน ๓๐-๓๐-๓๐-๑๐ ขุดบ่อน้ำเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงเป็ด ปลูกพืชหลายอย่างที่กินได้ พืชผักสวนครัว ปลูกไม้ยืนต้น ปลูกข้าว และหมุนเวียนปลูกพืชผักหลายอย่าง และที่สำคัญพืชผักที่ปลูกนั้นต้องปลอดสารเคมี เพราะเรากินก็ปลอดภัย และขายก็ได้ราคาดีกว่า การทำเกษตรผสมผสานก็ทำให้เราสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เกิน 50 เปอร์เซ็น เพราะเรามีพืชผัก มีปลา กบ มีไข่ และไก่ ไว้กินเอง และที่ได้มากกว่านั้นเราได้แบ่งปันให้กับญาติพี่น้อง คนข้างบ้าน ซึ่งทำให้เรามีของกินเพิ่มมากกว่าสิ่งที่เรามี เพราะได้แบ่งปันกัน และอีกอย่างยังมีเหลือได้ขายตลอดปี สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนด้วย

วัตถุประสงค์ ->

๑) เพื่อให้ครอบครัวพออยู่พอกินพึ่งตนเองได้ โดยไม่ต้องเป็นหนี้สิน

๒) เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนและสร้างรายได้ตลอดปี   

๓) เพื่อเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนได้หันมาสนใจแนวคิดเกษตรผสมผสาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑) เมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ เมล็ดพันธุ์ข้าว (มีทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ได้แก่ ข้าวเหนียว กข ๖ ข้าวเหนียวดำ ข้าวหอมมะลิ 105 และข้าว กข 15 และข้าวไรซ์เบอร์รี่)

2) ปุ๋ยคอก

๓) ปุ๋ยอินทรีย์

๔) น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง

อุปกรณ์ ->

๑) เทคโนโลยีที่เหมาะสม

๒) เสียม จอบ

๓) ผ้ามุ้งเขียว ผ้าสแลนด์กันแดด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 การทำเกษตรผสมผสาน

              แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน อัตราส่วนโดยประมาณ ๓๐-๓๐-๓๐-๑๐ หรือให้มีความเหมาะสม

              ส่วนที่หนึ่ง  ๓๐% ขุดบ่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับปลูกพืชผัก และในบ่อก็เลี้ยงปลาหลายชนิด และเลี้ยงกบและปล่อยธรรมชาติ

              ส่วนที่สอง ๓๐% ปลูกนาข้าว

              ส่วนที่สาม ๓๐% ปลูกพืชสวนพืชไร่ เช่น พืชผักสวนครัว ไม้ยืนต้น ไม้ผล ที่สามารถเก็บขายได้ เป็นการเสริมรายได้

              ส่วนที่สี่ ๑๐% เป็นสิ่งปลูกสร้าง เช่น สร้างที่อยู่อาศัย สร้างคอกไก่ คอกเป็ด ซึ่งตนได้ใช้พื้นที่บนขอบสระเพื่อสร้าง และที่เหลือก็ปลูกผัก โดยใช้ประโยชน์ได้ทุกพื้นที่

ข้อพึงระวัง ->

การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ควรเป็นวิธีการแบบปลอดสารเคมี ใช้ปุ๋ยคอกจากสัตว์ที่เลี้ยง ปุ๋ยหมักซึ่งทำเองได้จากวัสดุธรรมชาติ และน้ำหมักสมุนไพรที่ไล่แมลงได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา