ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การมัดหมี่

โดย : นางดวงจันทร์ ชาดง วันที่ : 2017-05-31-00:41:56

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๓๓ หมู่ 4 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 นางดวงจันทร์ ชาดง ได้เริ่มหัดมัดหมี่จากยาย ซึ่งหัดอยู่นาน เมื่อมัดเป็นก็เริ่มแกะลายต่างๆ จนมีความชำนาญ จนที่สุดก็รับจ้างมัดหมี่ และก็ยึดเอาการมัดหมี่เป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อทอผ้าใช้เอง และขาย มัดหมี่เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑) เส้นไหมที่ค้นเสร็จแล้ว

2) เชือกฟาง

อุปกรณ์ ->

มีดบางเล็กๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม โฮงหมี่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑)      เอาปอยหมี่ที่ค้นเสร็จแล้วใส่โฮงหมี่

๒)      การเริ่มต้นมัดลายหมี่ อาจมันจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่าง หรือมัดข้างล่างก่อนจึงไล่เรียงขึ้นข้าง

๓)      เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลำหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับให้แน่นเพื่อไม่ให้สีย้อมซึกเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามแนวลายหมี่แล้ว มัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่น โดยเหลือปลายเชือกไว้ เมื่อเวลาแก้มัดเชือกจะทำได้ง่าย ส่วนของไหมที่ถูกเชือกฟางมัดนี้ เวลานำไปย้อมสี สีอื่นจะไม่สามารถซึมเข้าไปในส่วนนั้นๆ ได้ จะคงสีไว้ตามเดิม และส่วนที่ไม่ถูกมัดจะย้อมอติดสีตามที่ย้อม ถ้ามัดหมี่และย้อมสีสลับกันหลายครั้งจะทำให้ผ้าไหมมีหลายๆ สี

๔)      เอาเชือกเส้นหนึ่งที่สอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้าหนึ่ง ผูกกลุ่มเส้นไหมไว้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับเวลาย้อม จากนั้นจึงถอดเส้นไหมมัดหมี่ออกจากหลักหมี่

ข้อพึงระวัง ->

๑.        ควรมัดให้แน่นกันสีย้อมเข้าไปตรงที่มัด   

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา