ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้า มัดหมี่พื้นบ้าน

โดย : นางทองหล่อ สีสุดทา วันที่ : 2017-05-17-04:44:01

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๒๙ หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยเตย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ทำ   การทอผ้า ทำสืบทอดมาจากรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย  เพื่อเป็นของใช้ในครอบครัว  และใช้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน  เป็นของฝากญาติพี่น้อง  ต่อมามีการทำเพื่อจำหน่ายเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสืบทอดองค์ความรู้  ของบรรพบุรุษไว้ให้ลูกหลาน  และเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหม   เชือกฟาง  สีย้อม

อุปกรณ์ ->

กี่  กระสวย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. การเตรียมเส้นไหม  แบ่งออกเป็น ๒   ส่วน คือ

                        ๑.๑ เส้นไหมพุ่ง  เป็นการเตรียมเส้นไหมสำหรับนำไปมัดหมี่โดยใช้เครื่องมือในการค้นลำหมี่ เพื่อนำไปสำหรับมัดหมี่

                        ๑.๒ ไหมเครือ(ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือกรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือไปค้น(กรอ)ให้ได้ความยาวตามจำนวนผืนผ้า

            ๒. นำเส้นพุงที่เตรียมไว้ไปมัดหมี่ตามลวดลายที่ต้องการ

            ๓. การย้อมสี  นำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยใช้ด่างจากขี้เถ้า  เรียกว่าการด่องไหม  จะทำให้เส้นไหมขาวนวลขึ้นแล้วจึงนำไปย้อม  สีตามต้องการ

            ๔.  การแก้หมี่  คือการแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละลำออกให้หมดในการย้อมแต่ละครั้ง

            ๕. การทอผ้า  ประกอบไปด้วยเส้นไหมยืน จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ  อีกชุดหนึ่งคือเส้นไหมพุ่ง  จะกรอเข้ากระสวยเพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก  ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบของผู้ทอที่มัดหมี่ไว้แล้ว

ข้อพึงระวัง ->

ควรย้อมสีให้กลมกลืนสวยงาม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา